9 เหตุการณ์การโจมตีทางไซเบอร์

สรุป 9 เหตุการณ์การโจมตีทางไซเบอร์ครั้งใหญ่ในไทย

จับตาเหตุการณ์การโจมตีทางไซเบอร์พร้อมเสริมทักษะรับมือภัยไซเบอร์

เมื่อเทคโนโลยีถูกพัฒนาไปอย่างรวดเร็ว รูปแบบการโจมตีทางไซเบอร์ก็เปลี่ยนตามไป เพราะแฮกเกอร์สรรหาวิธีการใหม่ ๆ มาโจมตีผู้ใช้งานอยู่ตลอดเวลา ทำให้หลายองค์กรต้องปรับเปลี่ยนวิธีการป้องกันการโจมตีทางไซเบอร์เพื่อให้สอดคล้องกับภัยคุกคามทางไซเบอร์
ในปัจจุบันที่ทวีความรุนแรงมากขึ้น ในบทความนี้ SOSECURE ได้รวบรวมเหตุการณ์โจมตีทางไซเบอร์
ซึ่งเคยเกิดขึ้นในประเทศไทย เพื่อให้ได้เข้าใจว่าการโจมตีทางไซเบอร์คืออะไร มีลักษณะการโจมตีแบบไหน และมีวิธีป้องกันอาชญากรรมทางไซเบอร์อย่างไรบ้าง

เปิด 9 เหตุการณ์ข้อมูลรั่วไหลในประเทศไทยจากการโจมตีทางไซเบอร์

ปัจจุบันการโจมตีทางไซเบอร์สร้างความเสียหายให้แก่เศรษฐกิจ ภาพลักษณ์ และสังคมรุนแรงขึ้นเรื่อย ๆ ทำให้ทุกองค์กรต้องการบุคลากรที่มีความรู้ด้านการป้องภัยคุกคามทางไซเบอร์เพิ่มขึ้น เพื่อให้ระบบป้องกันที่มีอยู่สามารถป้องกันการโจมตีทางไซเบอร์ที่เปลี่ยนรูปแบบไปในแต่ละวันได้ และเพื่อให้เห็นภาพชัดเจนมากขึ้น SOSECURE ขอพาไปย้อนดูเหตุการณ์การโจมตีทางไซเบอร์ที่เกิดขึ้นกับองค์กรภาครัฐและเอกชนตั้งแต่ปี2561-2566 ซึ่งตกเป็นข่าวบนพื้นที่สื่อ ว่ามีการโจมตีทางไซเบอร์รูปแบบไหนเกิดขึ้นบ้าง

ครั้งที่ 1 เดือนเมษายน 2561 : ข้อมูลลูกค้า TrueMove H  หลุดรั่ว

เริ่มต้นด้วยข่าวฐานข้อมูลลูกค้า TrueMove H ที่ลงทะเบียนซิมผ่านช่องทาง iTrueMart หลุดบนคลาวด์เก็บข้อมูล Amazon Web Service S3 ทำให้บุคคลภายนอกสามารถเข้าถึงข้อมูลรูปสำเนาบัตรประชาชน
ใบขับขี่ และพาสปอร์ตของลูกค้า TrueMove H โดยไม่มีการป้องกันใด ๆ นั่นเอง

ขอบคุณข้อมูลจาก : beartai

ครั้งที่ 2 เดือนกันยายน 2563 : โรงพยาบาลสระบุรี ถูก Ransomware โจมตี

นี่ถือเป็นการโจมตีทางไซเบอร์ที่สร้างผลกระทบต่อการให้บริการของโรงพยาบาลสระบุรีมากทีเดียว หลังออกมาเปิดเผยว่า คอมพิวเตอร์ของโรงพยาบาลสระบุรีถูกโจมตีทางไซเบอร์ด้วย Ransomware หรือมัลแวร์เรียกค่าไถ่ ส่งผลให้ทางโรงพยาบาลไม่สามารถดึงข้อมูลคนไข้เพื่อทำการรักษาได้ แม้ที่ผ่านมาทางโรงพยาบาลสระบุรีมีการแบ็กอัปข้อมูลไว้ตลอดเวลา แต่ไวรัสได้เจาะเข้าไปในฐานข้อมูลในช่วงนั้นพอดี

ขอบคุณข้อมูลจาก : sanook

ครั้งที่ 3 เดือนมกราคม 2564 : ข้อมูลส่วนบุคคลของลูกค้า 3BB และช่อง MONO รั่วไหล

เมื่อบริษัทในกลุ่ม Jasmine International ซึ่งเป็นบริษัทแม่ของ 3BB ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต
และช่อง MONO ออกประกาศชี้แจงข้อมูลกรณีแฮกเกอร์โจรกรรมข้อมูลส่วนบุคคลของลูกค้า พร้อมเรียกร้อง
ให้จ่ายค่าไถ่กว่า 550,000 เหรียญดอลลาร์สหรัฐเพื่อแลกเปลี่ยนกับข้อมูลดังกล่าว แต่ Jasmine หลีกเลี่ยงการจ่าย
ค่าไถ่ แฮกเกอร์จึงโต้ตอบด้วยการแฮกข้อมูลเพิ่มเติม

โดยหลังเกิดเหตุ Jasmine ได้เปิดหน้าเว็บไซต์ให้ลูกค้า 3BB และช่อง MONO ตรวจสอบได้ด้วยตัวเอง
ทั้งยืนยันว่าข้อมูลส่วนบุคคลที่รั่วไหลไม่เกี่ยวกับข้อมูลทางการเงินหรือบัตรเครดิต พร้อมจะเร่งเพิ่มมาตราการป้องกันการโจมตีทางไซเบอร์ให้หนาแน่นมากยิ่งขึ้น

ขอบคุณข้อมูลจาก : beartai

ครั้งที่ 4 เดือนสิงหาคม 2564 : Bangkok Airways ถูก Ransomware โจมตี

สายการบิน Bangkok Airways ได้ออกประกาศว่าถูกโจมตีทางไซเบอร์ด้วย Lockbit Ransomware ทำให้ระบบสารสนเทศของบริษัทฯ อาจถูกเข้าถึงจากผู้ไม่หวังดี ซึ่งหลังเกิดเหตุทางบริษัทฯ ได้ดำเนินการสืบสวนเพื่อระบุว่ามีข้อมูลส่วนไหนบน Database ที่ได้รับความเสียหาย รวมถึงผู้โดยสารที่ได้รับผลกระทบ พร้อมกันนี้ได้เร่งปรับปรุงการป้องกันการโจมตีทางไซเบอร์ให้มีความรัดกุมมากยิ่งขึ้นกว่าเดิมด้วย

ขอบคุณข้อมูลจาก : thairath

ครั้งที่ 5 เดือนกันยายน 2564 : สถาบันโรคไตภูมิราชนครินทร์ ถูกโจรกรรมข้อมูลคนไข้

หลังสถาบันโรคไตภูมิราชนครินทร์ตรวจพบว่า ระบบข้อมูลของโรงพยาบาลถูกบล็อก และมีความพยายามเจาะข้อมูลส่วนตัว เช่น ข้อมูลการฟอกไตของคนไข้ ผลเอกซเรย์ และประวัติการรักษาของคนไข้ โดยคาดว่าผู้ก่อเหตุ เจาะระบบด้วยวิธีการควบคุมระยะไกลจากภายนอกโรงพยาบาลนั่นเอง

ขอบคุณข้อมูลจาก : dailynews

ครั้งที่ 6 เดือนกันยายน 2564 : CP Freshmart ถูกขโมยข้อมูลลูกค้า

หลังมีกระแสข่าวว่าผู้ใช้ THJAX ประกาศขายข้อมูลส่วนบุคคลโดยอ้างว่ามาจากเว็บไซต์ CP Freshmart จากนั้นไม่นานทาง CP Freshmart ออกแถลงการณ์ยืนยันว่าข้อมูลลูกค้าถูกแฮกจริง แต่ยืนยันว่าข้อมูลที่หลุดออกไปมีเพียงชื่อ-นามสกุล, ที่อยู่, หมายเลขโทรศัพท์ และอีเมล แต่ไม่มีข้อมูลบัตรเครดิตหรือข้อมูลด้านการเงิน

ทั้งนี้ได้ชี้แจงเพิ่มเติมว่า การโจมตีทางไซเบอร์ครั้งนี้ไม่มีผลกระทบต่อการดำเนินธุรกิจและระบบความปลอดภัยด้านอื่น ๆ พร้อมขอให้ลูกค้าระมัดระวังการหลอกลวงทางโทรศัพท์ และการหลอกลวงทางอีเมล (Phishing) ที่อาจเกิดขึ้นได้จากการนำข้อมูลไปใช้ต่อ และย้ำว่าไม่มีนโยบายติดต่อลูกค้าเพื่อขอข้อมูลทางด้านการเงิน

ขอบคุณข้อมูลจาก : the standard

ครั้งที่ 7 เดือนตุลาคม 2564 : Central Restaurant Group ถูกโจมตีทางไซเบอร์

เซ็นทรัล เรสตอรองส์ กรุ๊ป หรือซีอาร์จี (CRG) ได้ออกหนังสือยืนยันว่ามีแฮกเกอร์ได้เข้าโจมตีระบบสารสนเทศของ CRG จริง โดยการโจมตีทางไซเบอร์ครั้งนี้แฮกเกอร์ได้ข้อมูลบางส่วนของลูกค้าไป แต่ข้อมูลสำคัญเกี่ยวกับการซื้อสินค้า ข้อมูลบัตรเครดิต และธุรกรรมทางการเงินยังอยู่ในสถานะที่ปลอดภัย

ขอบคุณข้อมูลจาก : mgronline

ครั้งที่ 8 เดือนกุมภาพันธ์ 2565 : ข้อมูลนักเรียนไทยในระบบ TCAS รั่วไหล

ระบบการคัดเลือกกลางบุคคลเข้าศึกษาในสถาบันอุดมศึกษา (TCAS) ยืนยันว่ามีข้อมูลส่วนตัวบางส่วนของนักเรียนปี 2564 ที่ยื่นเพื่อรับการคัดเลือกเข้าศึกษาต่อ รอบ 3 Admission 1 รั่วไหลจากเว็บไซต์ mytcas.com จำนวนกว่า 23,000 รายการ โดยข้อมูลชื่อ-นามสกุล, เลขประจำตัวประชาชน โปรแกรมที่สมัครและรอบที่สมัครถูกวางขายในเว็บมืด

ขอบคุณข้อมูลจาก : Bangkokbiz news

ครั้งที่ 9 เดือนมีนาคม 2566 : แฮกเกอร์ 9near ประกาศขายข้อมูลคนไทย 55 ล้านคน

ถือเป็นข่าวการโจมตีทางไซเบอร์ที่สร้างผลกระทบต่อความเชื่อมั่นของประชาชนไม่น้อยเลยทีเดียว หลังแฮกเกอร์ชื่อ 9Near ประกาศขายข้อมูลบนเว็บไซต์แห่งหนึ่ง ระบุว่าเป็นข้อมูลและรายชื่อคนไทย 55 ล้านคน โดยมีรายละเอียดตั้งแต่ชื่อ-นามสกุล, ที่อยู่, วันเกิด, เลขบัตรประชาชน, เบอร์โทรศัพท์ที่เป็นเบอร์ใช้งานจริงที่ลงทะเบียนไว้กับหน่วยงานรัฐ

ขอบคุณข้อมูลจาก : Nation Thailand

จากข่าวการโจมตีสถาบันการเงิน ภาคธุรกิจต่าง ๆ หรือหน่วยงาน ภาครัฐในข้างต้น จะเห็นได้ว่าประเทศไทยเป็นหนึ่งในเป้าหมายการโจมตีทางไซเบอร์ในรูปแบบ Ransomware และการโจรกรรมข้อมูล ซึ่งหลังเกิดเหตุหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต่างเร่งปรับปรุงมาตราการป้องกันการโจมตีทางไซเบอร์ เพื่อให้พร้อมรับมือและป้องกันตนเองจากภัยที่อาจเกิดขึ้น
ไม่ว่าจะเป็นการติดตั้ง Firewall บนเครือข่าย อัปเดตซอฟต์แวร์ด้านความปลอดภัย ทำการแบ็กอัปข้อมูล ส่งบุคลากรไปฝึกอบรมด้าน Cybersecurity เพิ่มเติม ไปจนถึงการแนะนำเทคนิคในการรับมือภัยไซเบอร์ เพื่อไม่ให้ตกเป็นเหยื่อของมิจฉาชีพ

รู้จักรูปแบบการโจมตีทางไซเบอร์ ภัยคุกคามใกล้ตัวที่ควรจับตามอง

หากพิจารณาการโจมตีทางไซเบอร์ที่เกิดขึ้นกับองค์กรภาครัฐและเอกชนตั้งแต่ปี 2561-2566 พบว่าส่วนใหญ่เกิดจากเหตุข้อมูลรั่วไหล แต่รู้ไหมว่านอกจากโจมตีระบบเครือข่ายด้วย Ransomware หรือแฮกเกอร์อาศัยช่องโหว่ของระบบรักษาความปลอดภัยเจาะเข้าไปขโมยข้อมูล ปัจจุบันยังมีรูปแบบการโจมตีทางไซเบอร์ที่น่าจับตามองอีกไม่น้อย ส่วนจะมีวิธีโจมตีทางไซเบอร์แบบใดบ้าง  ตาม SOSECURE ไปหาคำตอบกัน

เป็นโปรแกรมที่แฮกเกอร์พัฒนาขึ้นมาเพื่อรบกวนหรือขโมยข้อมูลจากคอมพิวเตอร์ เครือข่าย หรือเซิร์ฟเวอร์ โดยมัลแวร์จะแฝงตัวมากับไฟล์ข้อมูลต่าง ๆ และเมื่อมัลแวร์ถูกฝังเข้าไปในอุปกรณ์จะทำการดึงข้อมูลภายในเครื่อง และเข้าควบคุมระบบของเป้าหมายทันที

เป็นรูปแบบการโจมตีทางไซเบอร์คล้ายกับมัลแวร์ เพราะเป็นการหลอกให้ผู้ใช้หลงเชื่อเหมือนกัน แต่ Phishing ใช้วิธีโจมตีทางไซเบอร์ที่แยบยลมากกว่า อย่างการส่งอีเมลปลอมหรือ SMS มาหลอกว่าเป็นหน่วยงานภาครัฐหรือสถาบันการเงิน เพื่อให้หลงเชื่อแล้วกรอกข้อมูลส่วนบุคคลที่เป็นความลับ

การโจมตีทางไซเบอร์ที่แฮกเกอร์อาศัยช่องโหว่ของโปรแกรมหรือเว็บไซต์ด้วยการแทรก SQL เข้าไปทาง Input เพื่อหลอกฐานข้อมูลแล้วทำการดึง แก้ไข หรือเข้าควบคุมข้อมูล

วิธีโจมตีทางไซเบอร์แบบ DDoS คือการที่แฮกเกอร์ส่งคำขอจำนวนมากด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์หลายเครื่องไปยังเว็บไซต์ที่ต้องการโจมตีพร้อม ๆ กัน จนเซิร์ฟเวอร์ไม่สามารถรองรับได้ทำให้เกิดการขัดข้องหรือที่เรียกว่าเว็บไซต์ล่มนั่นเอง

สำหรับ Cross-site Scripting (XSS) หรือการโจมตีแบบสคริปต์ข้ามไซต์ นั่นคือแฮกเกอร์อาศัยช่องโหว่ของระบบรักษาความปลอดภัยเข้ามาใส่สคริปต์ที่เป็นอันตรายลงในเว็บที่ต้องการโจมตี เมื่อมีการเข้าชมเว็บไซต์สคริปต์ที่เป็นอันตรายจะถูกส่งไปยังเบราว์เซอร์ของผู้ใช้โดยอัตโนมัติ

คือการส่งมัลแวร์ประเภทหนึ่งเข้าไปที่คอมพิวเตอร์หรือระบบเครือข่าย เพื่อบล็อกการเข้าถึงข้อมูลหรือระบบที่สำคัญจนกว่าจะจ่ายค่าไถ่ตามที่แฮกเกอร์เรียกร้อง

คือมัลแวร์ชนิดหนึ่งที่หากเผลอติดตั้งในคอมพิวเตอร์หรือระบบเครือข่าย จะทำให้แฮกเกอร์เข้ามาแทรกแซงหรือโจมตีระบบเครือข่ายได้ง่ายขึ้น นอกจากนี้ Botnet ยังใช้วิธีโจมตีทางไซเบอร์แบบ DDoS ที่สามารถสั่งการผ่านทางไกลเพื่อส่งสแปม ขโมยข้อมูลส่วนตัว หรือสอดแนมผู้คนและองค์กรต่าง ๆ นั่นเอง

เพิ่มความปลอดภัยบนโลกออนไลน์ กับวิธีป้องกันการโจมตีทางไซเบอร์

การโจมตีทางไซเบอร์ที่เกิดขึ้นในปัจจุบันส่วนใหญ่มาจากความผิดพลาดของมนุษย์ ดังนั้นการให้ความรู้เกี่ยวกับการป้องกันการโจมตีทางไซเบอร์แก่บุคลากรทุกคนในองค์กร ควบคู่ไปกับการดูแลและตรวจสอบระบบรักษาความปลอดภัยจะช่วยอุดรอยรั่วนั้นได้ ดังนั้นเพื่อลดความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นจากภัยคุกคามทางไซเบอร์ วิธีการป้องกันภัยไซเบอร์ที่ช่วยปกป้ององค์กรของคุณจากภัยคุกคามเหล่านี้จึงเป็นสิ่งสำคัญเช่นเดียวกัน

ติดตั้ง Firewall บนเครือข่าย

การติดตั้ง Firewall บนเครือข่ายคอมพิวเตอร์ถือเป็นวิธีป้องกันภัยไซเบอร์ที่ทุกองค์กรควรทำ เพราะ Firewall ทำหน้าที่ตรวจสอบข้อมูลของพนักงานที่ผ่านเข้า-ออกจากระบบเครือข่าย เพื่อป้องกันว่าข้อมูลที่จะส่งผ่านเข้ามานั้นมีความปลอดภัยหรือไม่? ทำให้ปัญหาระหว่างการใช้งานระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตจึงมีไม่มากนัก

อัปเดตซอฟต์แวร์ให้ทันสมัยอยู่เสมอ

การอัปเดตซอฟต์แวร์ให้ทันสมัยอยู่เสมอเป็นหนึ่งในเคล็ดลับการป้องกันการโจมตีทางไซเบอร์ที่สามารถทำได้ง่าย ๆ เพียงอัปเดตโปรแกรมแอนตี้ไวรัส ระบบปฏิบัติการ และแอปพลิเคชันที่ใช้งานต่าง ๆ ให้เป็นเวอร์ชันล่าสุดก็ช่วยเสริมความปลอดภัยมากยิ่งขึ้น เพราะอาชญากรทางไซเบอร์มักใช้ประโยชน์จากช่องโหว่บนซอฟต์แวร์ที่ยังไม่ได้รับการปรับปรุงประสิทธิภาพเข้าถึงอุปกรณ์ของคุณ

เชื่อมต่อผ่านเครือข่าย Wi-Fi ที่ปลอดภัย

หลายคนอาจไม่รู้ว่าการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตผ่านเครือข่าย Wi-Fi สาธารณะมีโอกาสเสี่ยงถูกโจมตีทางไซเบอร์โดยที่ผู้ใช้บริการไม่ทันรู้ตัวได้ ดังนั้นถ้าจำเป็นต้องใช้ Wi-Fi สาธารณะจริง ๆ แนะนำให้หลีกเลี่ยงการทำธุรกรรมทางการเงินหรือแชร์ข้อมูลสำคัญ

ตั้งรหัสผ่านที่ปลอดภัย

ต้องบอกว่ารหัสผ่านหรือ Password คือวิธีป้องกันการโจมตีทางไซเบอร์ขั้นพื้นฐานที่ช่วยปกป้องข้อมูลส่วนบุคคลเวลาใช้บริการบนแพลตฟอร์มออนไลน์ต่าง ๆ ดังนั้นการตั้ง Password ที่รัดกุมช่วยลดโอกาสการถูกโจมตีจากเหล่าอาชญากรทางไซเบอร์ได้ สำหรับเทคนิคตั้งรหัสผ่านให้ปลอดภัยมีดังนี้

  • ใช้รหัสผ่านที่มีความซับซ้อน เช่น ตั้ง Password ที่มีความยาวมากกว่า 8 ตัวอักษร โดยผสมผสานกันทั้งอักษรพิมพ์ตัวเล็ก ตัวใหญ่ ตัวเลข และอักขระพิเศษ
  • ไม่ใช้ Password ซ้ำกันทุกบัญชี เพราะถ้าแฮกเกอร์ขโมยข้อมูลสำเร็จจะสามารถปลดล็อกได้ทุกบัญชีที่คุณมี
  • ใช้การยืนยันตัวตนแบบ 2 ขั้นตอน อย่างการส่งรหัสยืนยันตัวตนชั่วคราวแบบ SMS ไปยังเบอร์มือถือที่ได้ลงทะเบียนไว้ เพื่อนำมากรอกยืนยันอีกรอบก่อนเข้าใช้งานระบบ

ตรวจสอบลิงก์ก่อนเปิดเสมอ

การสร้าง URL หรือเว็บไซต์ปลอมเป็นหนึ่งในกลวิธีที่มิจฉาชีพใช้หลอกลวงให้ผู้รับหลงเชื่อแล้วยอมให้ข้อมูลส่วนตัว อย่างการสร้างเว็บให้คล้ายคลึงกับหน่วยงานราชการ, ผู้ให้บริการด้านสุขภาพ หรือสถาบันการเงินนั่นเอง ดังนั้นควรจะตรวจสอบให้ดีก่อนที่จะกดเข้าลิงก์ใด ๆ ก็ตามที่ส่งมา

สำรองข้อมูลที่จำเป็นทั้งหมด

การสำรองข้อมูลหรือ Backup ไฟล์เอกสาร, ไฟล์ของฝ่ายบุคคล, ไฟล์ลูกหนี้ หรือฐานข้อมูลที่สำคัญต่าง ๆ ในระบบไว้ จะช่วยให้มั่นใจว่าข้อมูลจะไม่สูญหายหากถูกโจมตีทางไซเบอร์ด้วย Ransomware หรือวิธีแฮกอื่น ๆ เพราะการ Backup ช่วยให้องค์กรสามารถย้อนคืนระบบกลับมายังสถานะก่อนที่จะถูกโจมตีได้

จัดฝึกอบรมด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์

การจัดฝึกอบรมการรับรู้ด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์ให้พนักงานทุกคนในองค์กรอย่างสม่ำเสมอ ทำให้มั่นใจว่าบุคลากรทั้งหมดรู้เท่าทันเหตุการณ์ และวิธีการป้องกันการโจมตีทางไซเบอร์ใหม่ ๆ อยู่เสมอ ทั้งสามารถนำความรู้ที่ได้เรียนไปประยุกต์ใช้งานเมื่อเจอสถานการณ์จริง เช่น การกำหนดค่า Firewall การตั้งรหัสผ่านที่ปลอดภัย หรือปกป้องตัวจากภัยคุกคามอื่น ๆ ในระดับเบื้องต้น

พร้อมรับมือการโจมตีทางไซเบอร์ ด้วยบริการ Blue Team Services

ในสภาวะที่หลายองค์กรขาดแคลนบุคลากรด้านความปลอดภัยไซเบอร์ การใช้บริการ Blue Team Services จาก SOSECURE บริษัทให้คำปรึกษาด้าน Cybersecurity และดูแลความปลอดภัยทางไซเบอร์ให้กับองค์กร มีประโยชน์ต่อองค์กรมากมาย ไม่ว่าจะเป็น

  • ทำหน้าที่รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับภัยคุกคามทางไซเบอร์
  • วิเคราะห์ข้อมูลเพื่อหาสัญญาณบ่งชี้การโจมตีทางไซเบอร์
  • ช่วยป้องกันการโจมตีทางไซเบอร์รูปแบบต่าง ๆ อย่างครอบคลุม
  • ช่วยองค์กรในการกู้คืนระบบหรือข้อมูลกลับสู่สถานะปกติได้อย่างรวดเร็ว
  • ฝึกซ้อมแผนรับมือเหตุโจมตีทางไซเบอร์เพื่อให้บุคลากรสามารถแก้ไขปัญหาได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  • ปรับปรุงกลยุทธ์และมาตรการรักษาความปลอดภัยขององค์กรให้มีประสิทธิภาพ

เห็นได้ว่าบริการ Blue Team Services สามารถช่วยองค์กรให้รอดพ้นจากการโจมตีทางไซเบอร์ ด้วยการวางแผนรับมือการป้องกันการโจมตีทางไซเบอร์อย่างมีประสิทธิภาพ ดังนั้นเพื่อปรับกลยุทธ์ให้สอดคล้องรูปแบบโจมตีทางไซเบอร์ที่พัฒนาอยู่ตลอดเวลา บริการ Blue Team จาก SOSECURE ซึ่งมีแผนรับมือการโจมตีทางไซเบอร์คือผู้ช่วยที่ทุกองค์กรไม่ควรมองข้าม

มาถึงตรงนี้สรุปได้ว่าการโจมตีทางไซเบอร์ที่พบในประเทศไทยมีทั้งการปล่อย Ransomware เรียกค่าไถ่ การโจรกรรมข้อมูลไปขายในเว็บมืด หรือขโมยข้อมูลไปแสวงหาผลประโยชน์ด้านอื่น ๆ ดังนั้นการเสริมเกราะการป้องกันการโจมตีทางไซเบอร์ผ่านการให้ความรู้และฝึกอบรมบุคลากรในองค์กรให้ตระหนักและเข้าใจการโจมตีทางไซเบอร์คือวิธีรับมือโจมตีทางไซเบอร์ที่ทุกองค์กรควรให้ความสำคัญ นอกจากช่วยองค์กรให้วางแผนรับมือภัยคุกคามทางคอมพิวเตอร์อย่างมีประสิทธิภาพ ยังทำให้กลับมาดำเนินงานตามปกติได้อย่างรวดเร็วหลังเกิดการโจมตีอีกด้วย

Share