CYBER DRILL | SOSECURE MORE THAN SECURE

Cyber Drill คือการซ้อมรับมือภัยคุกคามทางไซเบอร์ที่องค์กรไม่ควรมองข้าม 

Cyber Drill คือการจำลองเหตุการณ์เสมือนถูกโจมตีด้วยเทคนิคต่าง ๆ ซึ่ง Cyber Drill หรือที่เรียกกันว่า Cyber Exercise จาก SOSECURE นี้ เป็นการซ้อมรับมือกับภัยคุกคามทางไซเบอร์ที่ออกแบบมาเพื่อทดสอบและเพิ่มความพร้อมของบุคลากรภายในองค์กรเพื่อการตอบสนองต่อภัยคุกคามและเหตุการณ์ทางไซเบอร์ที่อาจจะเกิดขึ้นกับองค์กรในอนาคต โดยการจำลองเหตุการณ์ที่เป็นการฝึกซ้อมเหล่านี้ ถือเป็นองค์ประกอบสำคัญของการเตรียมพร้อมด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์ให้กับบุคลากรทุกระดับ รวมถึงยังมีบทบาทสำคัญในการช่วยให้องค์กรสามารถระบุจุดอ่อนในกลยุทธ์การป้องกันทางไซเบอร์ ฝึกอบรมบุคลากร และพัฒนากระบวนการตอบสนองต่อเหตุการณ์ที่มีประสิทธิภาพได้

เนื่องจากโลกขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยีมากขึ้นเรื่อย ๆ และเทคโนโลยียังมีบทบาทกับชีวิตประจำวันมากมาย แน่นอนว่าความสำคัญของความปลอดภัยทางไซเบอร์เป็นสิ่งที่ไม่อาจมองข้ามได้ ซึ่งการที่เทคโนโลยีต่าง ๆ ในปัจจุบันเชื่อมต่อและรับ-ส่งข้อมูลผ่านทางอินเทอร์เน็ต ทำให้ภัยคุกคามและการโจมตีทางไซเบอร์เกิดขึ้นได้ง่ายมากขึ้น ดังนั้นองค์กรต่าง ๆ จึงจำเป็นต้องอาศัยการทำ Cyber Drill เพื่อปกป้ององค์กรของตนเองและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียจากภัยคุกคามเหล่านี้ในรูปแบบต่าง ๆ เช่น ผลกระทบด้านการเงิน หรือชื่อเสียง เป็นต้น เรียกได้ว่าบริการ Cyber Drill คือการจำลองเหตุการณ์เสมือนที่มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างความตระหนักด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์ (Security Awareness) ให้กับองค์กรนั่นเอง

 

 

“ไม่ว่าจะเป็นองค์ขนาดเล็ก  หรือองค์กรขนาดใหญ่

Cyber Drill คือหัวใจสำคัญของความปลอดภัยทางไซเบอร์”

 

 

วัตถุประสงค์ของการซ้อมรับมือภัยคุกคาม Cyber Drill คือ

ในระหว่างการฝึกซ้อม Cyber Drill ผู้เข้าร่วมการฝึกซ้อมตั้งแต่ทีมรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์ไปจนถึงทีมพนักงานที่เกี่ยวข้อง จะได้รับการนำเสนอสถานการณ์เสมือนจริงที่เป็นการจำลองการโจมตีทางไซเบอร์ หรือเหตุการณ์ด้านความปลอดภัยขึ้นมา โดยสถานการณ์นี้อาจมีตั้งแต่การจำลองการละเมิดข้อมูล ทดสอบเจาะระบบ ไปจนถึงการโจมตีแรนซัมแวร์ หรือการบุกรุกเครือข่าย เป็นต้น หลังจากนั้นผู้ที่เข้าร่วมการฝึกซ้อมจะได้รับมอบหมายให้ตอบสนองต่อสถานการณ์นั้น ๆ เหมือนกับสถานการณ์ที่เกิดขึ้นจริง โดยวัตถุประสงค์ของการฝึกซ้อม Cyber Drill คือเพื่อ…

การวางแผนเผชิญเหตุและการเฝ้าระวังติดตาม

องค์กรจะได้ใช้ Cyber Drill หรือที่เรียกกันว่า Cyber Exercise เพื่อประเมินประสิทธิผลของแผนและขั้นตอนในการตอบสนองต่อเหตุการณ์ ซึ่งรวมถึงการประเมินว่าผู้เข้าการฝึกซ้อมในสถานการณ์จำลองนี้ สามารถตรวจจับ วิเคราะห์ และบรรเทาภัยคุกคาม รวมถึงช่องโหว่ทางไซเบอร์ได้ดีมากน้อยแค่ไหน

การฝึกอบรมทีม 

ทีมรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์สามารถฝึกฝนบทบาทและความรับผิดชอบในสภาพแวดล้อมที่มีการควบคุมได้หรือไม่ ซึ่งการทดสอบ Cyber Drill นี้ เพื่อช่วยให้ทีมมีความเชี่ยวชาญมากขึ้นในการจัดการกับเหตุการณ์ภัยคุกคามต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นจริง ทั้งยังช่วยให้ทีมที่ตำแหน่งแตกต่างกัน สามารถทำงานร่วมกันได้ดีขึ้น

 การระบุจุดอ่อน

การซ้อมรับมือภัยคุกคามทางไซเบอร์ สามารถเผยให้เห็นจุดอ่อนในการป้องกันทางไซเบอร์ขององค์กรได้ ซึ่งจะช่วยให้ทีมความปลอดภัยทางไซเบอร์ดำเนินการแก้ไขได้ก่อนที่เหตุการณ์ทางไซเบอร์จะเกิดขึ้นจริง ซึ่งอาจเกี่ยวข้องกับการระบุช่องโหว่ทางด้านเทคโนโลยี นโยบาย หรือการฝึกอบรมพนักงานขององค์กร เป็นต้น

✔  การฝึกทักษะในการตัดสินใจ

นอกจากวัตถุประสงค์ของการฝึกซ้อม Cyber Drill คือเพื่อให้สามารถรับมือกับเหตุการณ์ภัยคุกคามได้อย่างทันท่วงทีแล้ว การฝึกซ้อมนี้ยังมีไว้เพื่อให้ผู้บริหารและผู้มีอำนาจตัดสินใจเรียนรู้วิธีการตัดสินใจภายใต้แรงกดดันได้อีกด้วย

✔  การปฏิบัติตามกฎหมายและข้อบังคับ

การฝึกซ้อมทางไซเบอร์ Cyber Drill ยังช่วยให้องค์กรต่าง ๆ มั่นใจได้ว่าปฏิบัติตามกฎหมายและข้อบังคับที่เกี่ยวข้อง โดยการทดสอบความสามารถในการรายงานเหตุการณ์และจัดการการละเมิดข้อมูลตามข้อกำหนดทางกฎหมายได้อย่างถูกต้อง 

หลังจากที่การฝึกซ้อมเสร็จสิ้นก็จะมีการซักถามอย่างละเอียดจากเหตุการณ์จำลองเสมือนจริงที่สร้างขึ้น โดยผู้เข้าร่วมการซ้อมรับมือภัยคุกคามทางไซเบอร์จะหารือกันว่าอะไรผ่านไปด้วยดีและสิ่งไหนที่ต้องปรับปรุง การวิเคราะห์หลังการฝึกนี้มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการปรับปรุงมาตรการรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์ขององค์กร

เรียกได้ว่า Cyber Exercise หรือCyber Drill คือการจำลองเหตุการณ์เสมือนถูกโจมตีด้วยเทคนิคต่าง ๆ ที่เป็นมาตรการเชิงรุกสำหรับองค์กรเพื่อเตรียมพร้อมรับมือภัยคุกคามทางไซเบอร์และเสริมความแข็งแกร่งให้กับกลยุทธ์ความปลอดภัยทางไซเบอร์โดยรวมขององค์กร เพื่อป้องกันภัยคุกคามทางไซเบอร์ที่พัฒนาอยู่ตลอดเวลาให้ดียิ่งขึ้น

 

ทำไมองค์กรถึงต้องทำ Cyber Drill… 

จริง ๆ แล้ว การทำ Cyber Drill คือสิ่งที่จำเป็นสำหรับองค์กรมาก ๆ เพราะด้วยข้อมูลที่มีความสำคัญถูกจัดเก็บไว้เป็นจำนวนมากในรูปแบบดิจิทัล ไม่ว่าจะเป็น เลขบัตรประชาชน เลขบัญชีธนาคาร หรือข้อมูลส่วนตัวในส่วนอื่น  ๆ  ของลูกค้า หากองค์กรนั้น ๆ ไม่ได้รับการป้องกันข้อมูลเหล่านี้อย่างแน่นหนาก็จะส่งผลให้เกิดการโจรกรรมข้อมูลขึ้นได้ เนื่องจากแฮกเกอร์จะอาศัยช่องโหว่จากระบบรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์ขององค์กรในการดำเนินการทำสิ่งต่าง ๆ ที่สามารถสร้างความเสียหายให้กับองค์กรได้ ซึ่งหากถามว่าทำไมถึงต้องทำการซ้อมรับมือกับภัยคุกคามทางไซเบอร์ หรือ Cyber Drill ทาง SOSECURE ได้รวบรวมเหตุผลทั้งหลายที่เกี่ยวข้องไว้แล้ว ดังนี้

เป็นการเตรียมพร้อมด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์

การฝึกซ้อมการรับมือภัยคุกคามแบบเสมือนจริงช่วยให้องค์กรเตรียมพร้อมรับมือกับภัยคุกคามและการโจมตีทางไซเบอร์ที่อาจเกิดขึ้นได้ ซึ่งช่วยให้ทีมได้ฝึกตอบสนองต่อสถานการณ์ต่าง ๆ ได้อย่างทันท่วงที 

เป็นการทดสอบการตอบสนองเหตุการณ์ 

การฝึกซ้อมทางไซเบอร์จำลองการโจมตีทางไซเบอร์และเหตุการณ์ต่าง ๆ โดยให้โอกาสในการทดสอบแผนการตอบสนองต่อเหตุการณ์ขององค์กร จะช่วยให้ระบุจุดอ่อน ปัญหา และจุดที่ต้องปรับปรุงในกระบวนการตอบสนองนั้น ๆ ได้

เป็นการพัฒนาทักษะของทีมรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์

การฝึกซ้อมรับมือทางไซเบอร์ช่วยให้ทีมรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์สามารถฝึกฝนทักษะในสภาพแวดล้อมที่มีความเคร่งเครียดได้ ซึ่งสมาชิกในทีมสามารถเรียนรู้ที่จะระบุภัยคุกคาม ตัดสินใจภายใต้แรงกดดัน และดำเนินขั้นตอนการตอบสนองต่อเหตุการณ์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

เป็นการตระหนักรู้และการฝึกอบรม

การฝึกซ้อม Cyber Drill ยังสร้างความตระหนักรู้ในหมู่พนักงานเกี่ยวกับความเสี่ยงด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์ได้เป็นอย่างดี นอกจากนี้ยังสามารถใช้เป็นโอกาสการฝึกอบรมเพื่อให้ความรู้แก่พนักงานเกี่ยวกับวิธีการรับมือและตอบสนองต่อภัยคุกคามทางไซเบอร์ได้อีกด้วย

เป็นการเชื่อมโยงการประสานงานและการสื่อสารให้ราบรื่น

ในการฝึกซ้อม Cyber Drill ทีมต่าง ๆ ภายในองค์กร จะสามารถฝึกฝนการประสานงานและการสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพในช่วงวิกฤตได้เป็นอย่างดี ซึ่งสิ่งนี้ช่วยเพิ่มการทำงานร่วมกันและทำให้แน่ใจว่าทุกคนทราบบทบาทและความรับผิดชอบของตนเองได้

เป็นการประเมินความเสี่ยง

การฝึกซ้อมจำลองการโจมตีทางไซเบอร์สามารถช่วยให้องค์กรประเมินผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากภัยคุกคามและช่องโหว่ทางไซเบอร์ได้มากขึ้น ด้วยการจำลองสถานการณ์ต่าง ๆ องค์กรสามารถจัดลำดับความสำคัญของความพยายามในการรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์และจัดสรรทรัพยากรในตำแหน่งที่จำเป็นที่สุดได้เป็นขั้นเป็นตอนมากขึ้น

เป็นการปฏิบัติตามข้อกำหนดด้านความปลอดภัย 

ในบางอุตสาหกรรมและบางหน่วยงานได้มีการกำกับและดูแลให้องค์กรต่าง ๆ ดำเนินการฝึกซ้อมด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์ หรือทำ Cyber Drill เป็นประจำเพื่อแสดงให้เห็นถึงการปฏิบัติตามมาตรฐานและข้อบังคับด้านความปลอดภัย

เป็นการหาสิ่งที่ต้องปรับปรุง

หลังจากการฝึกซ้อมทางไซเบอร์ องค์กรสามารถประเมินประสิทธิภาพและทำการปรับปรุงที่จำเป็นต่อนโยบาย ขั้นตอน และโซลูชันเทคโนโลยีด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์ได้ดีขึ้น 

เป็นการจัดแนวทางเพื่อตอบสนองต่อภาวะวิกฤติ

การฝึกซ้อมทางไซเบอร์ยังทดสอบความสามารถในการจัดการภาวะวิกฤตขององค์กรที่นอกเหนือไปจากด้านเทคนิคได้อีกด้วย โดยจะประเมินว่าองค์กรสามารถจัดการด้านการประชาสัมพันธ์ กฎหมาย และความต่อเนื่องทางธุรกิจจากเหตุการณ์ทางไซเบอร์ได้ดีมากน้อยแค่ไหน

การฝึกซ้อมรับมือภัยคุกคามด้วยเทคนิคต่าง ๆ Cyber Drill คือสิ่งสำคัญสำหรับองค์กรในการประเมินความพร้อมด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์ว่ามีความสามารถในการตอบสนอง และความสามารถในการฟื้นตัวโดยรวม เมื่อเผชิญกับภัยคุกคามทางไซเบอร์ที่พัฒนาอย่างต่อเนื่องได้แค่ไหน ซึ่งการดำเนินการซ้อมรับมือกับภัยคุกคามเหล่านี้เป็นประจำจะช่วยให้องค์กรสามารถปกป้องข้อมูล ระบบ และชื่อเสียงขององค์ได้ดียิ่งขึ้น

 

หากสนใจทำ Cyber Drill ที่ SOSECURE มีรูปแบบการทำอย่างไร

หากอ่านมาถึงตรงนี้ แล้วองค์กรไหนมีความสนใจที่จะทำ Cyber Drill กับ SOSECURE แต่ยังไม่แน่ใจว่ารูปแบบของ Cyber Drill คือการทำอะไร มีขั้นตอนอะไรบ้าง เราขอแนะนำรูปแบบของการจำลองเหตุการณ์เสมือนถูกโจมตีด้วยเทคนิคต่าง ๆ ตั้งแต่การจัด Training สำหรับ Cybersecurity คอร์สฝึกอบรมไปจนถึงการระบุช่องโหว่ที่สามารถแก้ไขได้ ดังต่อไปนี้

     

รูปที่ 1 แนวทางการดำเนินงาน Cybersecurity Awareness Training Program

 


เริ่มต้นด้วยการจัดคอร์ส Cybersecurity ฝึกอบรมความตระหนักรู้ด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์ให้กับผู้เข้าร่วม การฝึกอบรมนี้ควรครอบคลุมแนวคิดด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์ที่สำคัญ แนวทางปฏิบัติที่ดีที่สุด และภัยคุกคามที่อาจเกิดขึ้นที่องค์กรอาจจะเผชิญในอนาคต โดยหัวข้อในการฝึกอบรมความตระหนักความปลอดภัยทางไซเบอร์ จะแบ่งได้เป็น
 
  • Information Technology in Daily Life
  • Cybersecurity Threat and Trend
  • Cybersecurity Law and Regulators
    • Thailand’s Computer-related Crime Act 2017
    • The Personal Data Protection Law
    • Payment Card Industry Data Security Standard
    • ISO 27001:2013
    • Organization Security Policies
  • Cybersecurity Threat
    • Identity Theft Techniques
    • Privacy Breach
    • Social Engineering Threat
    • Hacking Techniques
    • Smartphone Threat
    • Malware Threat
    • Wireless Threat
    • Social Networking Threat
    • Spy Gadget and Tracking Devices
    • Internet of Things Threat
  • Cybersecurity Threat Countermeasure
    • Securing your Personal / Corporate Computer
    • Securing your Identity
    • Securing Mobile/Smartphone
    • Securing Personal Data
    • Securing Internet Usage
    • Aware of Social Engineering Techniques
    • How to response when account/Computer was hacked

หลังการฝึกอบรมทาง SOSECURE จะมีการประเมินความรู้และความเข้าใจของผู้เข้าร่วมโดยการทำแบบทดสอบและข้อสอบที่ครอบคลุมเนื้อหาที่สอนระหว่างการฝึกอบรม จากนั้นก็จะมีการประเมินผลลัพธ์เพื่อทำความเข้าใจว่าผู้เข้าร่วมอาจจำเป็นต้องได้รับการศึกษาเพิ่มเติมหรือการปรับปรุงในส่วนใดบ้าง

SOSECURE จะออกแบบสถานการณ์การโจมตีทางไซเบอร์ที่สมจริงซึ่งสอดคล้องกับความเสี่ยงและวัตถุประสงค์ด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์เฉพาะขององค์กรนั้น ๆ โดยการจำลองสถานการณ์เหล่านี้ ก็เช่น การโจมตีแบบฟิชชิ่ง การติดมัลแวร์ หรือการละเมิดข้อมูล โดยการจำลองสถานการณ์ที่ว่านี้ผู้เข้าร่วมจะไม่ทราบล่วงหน้า หลังจากนั้นทาง SOSECURE จะติดตามและบันทึกว่าผู้เข้าร่วมตอบสนองต่อการโจมตีจำลองอย่างไร รวมถึงมีการตัดสินใจจัดการกับปัญหาที่เกิดขึ้นอย่างไร โดย SOSECURE สามารถสร้าง Cyber Drill หรือ Cyber Exercise เหตุการณ์จำลองที่เป็นภัยคุกคาม ซึ่งเกี่ยวข้องกับผู้ใช้งานระบบคอมพิวเตอร์ได้ ดังนี้
  • DDoS Attack
  • Infected Trojan
  • Infected Worm
  • Infected Botnet
  • Ransomware Attack
  • Successfully Remote Exploitation
  • Successfully Client Side Exploitation
  • Web Defacement
  • Compromise Web Server
  • Sensitive Data Exposure
  • Wireless Hacking
  • Malicious & Tunneling Traffic
  • Man-In-the-Middle Attack
  • Physical Security Attack
  • Phishing Attack
  • Voice Phishing
  • Pharming Attack
  • E-mail SCAM Attack
  • Drive by Download Attack

เมื่อได้ใช้เหตุการณ์จำลองภัยคุกคามแล้ว ขั้นตอนต่อไปของ Cyber Drill คือทาง SOSECURE จะรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลที่สร้างขึ้นระหว่างการจำลองสถานการณ์ จากนั้นสร้างรายงานที่ครอบคลุมโดยสรุปผลการดำเนินงานทั้งหมด รวมถึงจุดแข็งและจุดอ่อนในการตอบสนองต่อของผู้เข้าร่วมและมาตรการรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์ขององค์กรนั้น ๆ แล้วก็จะให้คำแนะนำในการปรับปรุงตามบทเรียนที่ทางผู้เข้าร่วมได้รับ

ขั้นตอนสุดท้ายของ Cyber Drill คือทาง SOSECURE จะใช้ข้อมูลเชิงลึกจากรายงานการสรุปผลทั้งหมดเพื่อทำการปรับปรุงสิ่งที่จำเป็นในการฝึกอบรม นโยบาย ขั้นตอน และโซลูชันเทคโนโลยีต่าง ๆ เพื่อสร้างความตระหนักรู้ด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์ขององค์กรให้มากยิ่งขึ้น พร้อมกับพัฒนาแผนปฏิบัติการเพื่อแก้ไขจุดอ่อนที่ระบุ และเพิ่มความยืดหยุ่นด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์โดยรวม

ซึ่งสิ่งสำคัญของการทำ Cyber Drill คือต้องแน่ใจว่าขั้นตอนเหล่านี้ดำเนินการในสภาพแวดล้อมที่ได้รับการควบคุมและปลอดภัย โดยมุ่งเน้นไปที่การศึกษาและการปรับปรุงช่องโหว่ภายในระบบขององค์มากกว่า ซึ่งเป้าหมายของการฝึกซ้อมทางไซเบอร์คือการเพิ่มความตระหนักรู้และการเตรียมพร้อมด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์ เพื่อให้ผู้เข้าร่วมสามารถปกป้ององค์กรจากภัยคุกคามทางไซเบอร์ที่แท้จริงได้ดีขึ้น

 

 

 

หากไม่ทำ Cyber Drill จะเกิดอะไรขึ้น

 

หากองค์กรเลือกที่จะไม่ทำการจำลองเหตุการณ์เสมือนถูกโจมตีด้วยเทคนิคต่าง ๆ หรือ Cyber Drill รวมถึงการเข้าร่วมคอร์ส Cybersecurity คอร์สฝึกอบรมที่เกี่ยวข้องกับการซ้อมรับมือเหตุการณ์การเสมือนจริงเกี่ยวกับภัยคุกคามทางไซเบอร์ องค์กรอาจได้รับผลลัพธ์ต่าง ๆ ที่เป็นความเสี่ยงตามมามากมาย ไม่ว่าจะเป็น…

 


เนื่องจากพนักงานและทีมความปลอดภัยทางไซเบอร์อาจขาดความรู้และประสบการณ์ที่จำเป็นในการรับรู้และตอบสนองต่อภัยคุกคามทางไซเบอร์อย่างมีประสิทธิภาพ ส่งผลให้องค์กรเสี่ยงต่อการถูกโจมตีที่มากขึ้น

เนื่องจากพนักงานอาจไม่เข้าใจถึงความสำคัญของภัยคุกคามทางไซเบอร์อย่างถ่องแท้ จึงอาจนำไปสู่การขาดความระมัดระวังในการปกป้องข้อมูลที่ละเอียดอ่อน

ในกรณีที่เกิดเหตุการณ์ทางไซเบอร์จริง องค์กรที่ไม่มีประสบการณ์การฝึกซ้อม Cyber Drill มาก่อน อาจประสบปัญหาในการตอบสนองอย่างรวดเร็วและไม่มีประสิทธิภาพ ซึ่งอาจทำให้ผลกระทบของการโจมตีรุนแรงขึ้น

หากไม่มีการฝึกซ้อมเป็นประจำ องค์กรอาจไม่สามารถระบุจุดอ่อนในการป้องกันความปลอดภัยทางไซเบอร์ได้ ซึ่งรวมถึงอาจไม่รู้ถึงขั้นตอน หรือการควบคุมทางเทคนิคที่จำเป็น

หากการโจมตีทางไซเบอร์สามารถเจาะเข้าสู่ระบบขององค์กรสำเร็จอาจส่งผลให้เกิดการสูญเสียทางการเงินจำนวนมาก รวมถึงค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องกับการตอบสนองต่อเหตุการณ์ ค่าธรรมเนียมทางกฎหมาย ค่าปรับตามกฎระเบียบ การฟ้องร้องที่อาจเกิดขึ้น และอาจสูญเสียซัพพลายเออร์ คู่ค้า และลูกค้าอาจตัดสัมพันธ์กับองค์กรที่ไม่สามารถปกป้องข้อมูลที่แบ่งปันของตนได้อย่างเพียงพอ ซึ่งนำไปสู่การสูญเสียความสัมพันธ์ทางธุรกิจในระยะยาว

เหตุการณ์ทางไซเบอร์อาจส่งผลเสียต่อชื่อเสียงขององค์กร ส่งผลให้สูญเสียความไว้วางใจและความเชื่อมั่นของลูกค้า ซึ่งเมื่อเกิดขึ้นแล้วก็อาจเป็นเรื่องยากที่จะฟื้นคืน โดยลูกค้าอาจสูญเสียความเชื่อมั่นในความสามารถขององค์กรในการปกป้องข้อมูลของตน และอาจส่งผลเสียด้านอื่น ๆ อย่าง การฟ้องร้อง ตามมา

การไม่ปฏิบัติตามกฎระเบียบด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์และพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 (Personal Data Protection Act: PDPA) อาจส่งผลให้องค์กรได้รับบทลงโทษทางกฎหมาย เสียค่าปรับ และผลกระทบทางกฎหมายอื่น ๆ ตามมา

การที่องค์กรไม่ทำ Cyber Drill คือสิ่งที่ทำให้องค์กรตกอยู่ในสถานการณ์ที่ร้ายแรงได้ เพราะการเลือกไม่ทำและเกิดเหตุการณ์ภัยคุกคามทางไซเบอร์ขึ้นมาจะขัดขวางการดำเนินงานขององค์กร ซึ่งนำไปสู่การหยุดทำงาน การสูญเสียประสิทธิภาพการทำงาน และอาจทำให้การทำงานภายในองค์กรหยุดชะงักจนส่งผลเสียต่อภาพรวมขององค์กรได้

ความล้มเหลวในการปกป้องทรัพย์สินทางปัญญาที่มีความละเอียดอ่อนจากการไม่ทำ Cyber Drill อาจนำไปสู่การโจรกรรมข้อมูลต่าง ๆ ซึ่งอาจสร้างความเสียหายในอุตสาหกรรมที่มีการแข่งขันสูงได้

ผลที่ตามมาจากเหตุการณ์จากการที่องค์กรไม่ทำ Cyber Drill อาจส่งผลกระทบระยะยาวต่อผลกำไรและการดำเนินงานขององค์กร ซึ่งส่งผลต่อเสถียรภาพทางการเงินและตำแหน่งทางการตลาดเป็นอย่างมาก

การที่องค์กรตัดสินใจที่จะไม่ทำ Cyber Drill หรือ Cyber Exercise จะส่งผลกระทบที่ร้ายแรง ตั้งแต่ความสูญเสียทางการเงินและการหยุดชะงักในการดำเนินงาน ไปจนถึงความเสียหายต่อชื่อเสียงขององค์กรและตำแหน่งทางการตลาด และด้วยลักษณะของภัยคุกคามทางไซเบอร์ที่มีอยู่ตลอดเวลาและได้รับการพัฒนาอยู่เสมอ มาตรการรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์ อย่างการจำลองเหตุการณ์เสมือนถูกโจมตี Cyber Drill คือสิ่งที่มีความสำคัญในการลดความเสี่ยงเหล่านี้ลงได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ทั้งนี้ทางองค์กรควรมีการฝึกซ้อมและติดตามผลของการทำ Cyber Exercise เป็นระยะ ๆ เพื่อติดตามความคืบหน้า เสริมการฝึกอบรม และประเมินประสิทธิผลของการปรับปรุงให้สามารถตอบสนองด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์ได้อย่างต่อเนื่องมากยิ่งขึ้น ซึ่งหากองค์กรไหนที่ยังไม่ได้ทำ Cyber Drill ทาง SOSECURE บอกเลยว่า Cyber Drill คือสิ่งที่ต้องทำและมีความจำเป็นอย่างมากสำหรับองค์กรในยุคที่ทุกสิ่งทุกอย่างขับเคลื่อนด้วยข้อมูล

 

“ในยุคนี้การจำลองเหตุการณ์เสมือนถูกโจมตี อย่าง Cyber Drill คือการยกระดับความปลอดภัยทางไซเบอร์ที่ทุกองค์กรไม่ควรมองข้าม”