FAQ ตอบทุกข้อสงสัยเกี่ยวกับ Cybersecurity จาก SOSECURE

คำถามยอดฮิตเกี่ยวกับ Cybersecurity

สำหรับ cyber security course จาก SOSECURE มีคอร์สเรียนให้เลือกหลากหลายไม่ว่าจะเป็น Inhouse Training และ Online Training ที่เพิ่มความสะดวกสะบายให้แก่ผู้ที่อยากเรียนรู้ด้าน cybersecurity โดยทุกหลักสูตรของเราเน้นให้ทุกคนได้ลงมือปฏิบัติจริงด้วย Cyber Range อ่านข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับcybersecurity คอร์สได้ที่นี่

การสร้างระบบ Cybersecurity ในองค์กรที่สำคัญจะต้องมี People Process และTechnology เข้าด้วย เพื่อการคุ้มครองข้อมูลและการป้องกันระบบอย่างมีประสิทธิภาพ

ในปัจจุบันรูปแบบการโจมตี หรือ Cyber Threat มีวิวัฒนาการอย่างรวดเร็ว และมีความหลากหลายมากขึ้น ส่งผลให้องค์กรต่าง ๆ ที่ไม่ได้วางระบบ Cybersecurity ไว้มีโอกาสที่ถูกโจมตีจากภัยคุกคามทางไซเบอร์ได้มากกว่า และส่งผลกระทบที่ไม่สามารถประเมินมูลค่าได้อีกด้วย

cybersecurity management คือ การบริหารจัดการเกี่ยวกับการป้องกันและตอบสนองต่อภัยคุกคามทางไซเบอร์ เพื่อความปลอดภัยข้อมูลและระบบ IT โดยครอบคลุมแผน, นโยบาย, และการประเมินความเสี่ยงไปถึงการมอบหมายความรับผิดชอบเพื่อการจัดการอย่างมีประสิทธิภาพ

แนวทางและมาตรฐานในการจัดการความปลอดภัยทางไซเบอร์ หรือ cybersecurity framework ประกอบด้วยกลไกการป้องกัน, ตรวจจับ, ตอบสนอง และฟื้นฟูหลังเกิดเหตุ ใช้เป็นแผนที่ในการปรับปรุงและยกระดับการคุ้มครองข้อมูลในองค์กร

การเริ่มสร้าง Cybersecurity ในองค์กร หรือ Cybersecurity ในไทยควรเริ่มจาก การประเมินความเสี่ยง, ติดตั้งระบบป้องกัน และฝึกสร้างความตื่นตัวให้กับพนักงาน เช่น การฝึกอบรมพนักงาน สำคัญต่อองค์กรเพราะช่วยป้องกันการสูญเสียข้อมูล, ภัยคุกคามทางไซเบอร์ และเสียหายต่อภาพลักษณ์และข้อมูลของบริษัท

การเรียน cybersecurity แบบออนไลน์ที่ดีควรมีการลงมือปฏิบัติจริง เพื่อให้ทางผู้เรียนได้สัมผัสถึงสถานการณ์จริง เป็นการเตรียมความพร้อมรับมือที่ดีและช่วยต่อยอดการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งนี้ SOSECURE ยังมี cyber security คอร์ส แบบ Onsite อีกด้วย

หัวใจสำคัญของระบบ cybersecurity ประกอบด้วยการป้องกัน (Prevention), การตรวจจับ (Detection), การตอบสนอง (Response) และการฟื้นฟู (Recovery) ซึ่งทั้งหมดสามารถช่วยให้องค์กรของคุณมีความปลอดภัยมากยิ่งขึ้น

ระบบป้องกันการเจาะข้อมูล คือ การเสริมสร้างความปลอดภัย โดยการใช้ Firewall และ IDS/IPS เพื่อป้องกันภัยคุกคาม, การอัปเดตซอฟต์แวร์อยู่สม่ำเสมอ, การใช้รหัสผ่านที่ซับซ้อนและเปลี่ยนเป็นประจำ, การใช้งาน VPN เมื่อเข้าถึงข้อมูลจากระยะไกล, และควรสร้าง Cybersecurity Awareness ให้กับพนักงานทราบ

SOSECURE บริษัทด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์ชั้นนำในประเทศไทย SOSECURE มีประสบการณ์และความสามารถ การใช้เครื่องมือภายใต้กรอบมาตราฐานสากล NIST และ Cyber Framework อื่นๆ โดยเครื่องมือที่นำมาใช้มีลิขสิทธิที่ถูกต้องปลอดภัยต่อองค์กร เราบริการที่หลากหลาย ศูนย์ปฏิบัติการความปลอดภัย (CSOC) ครบวงจร ที่ทำให้ลูกค้า SOSECURE มั่นใจได้ว่าสามารถปกป้องตนเองจากภัยคุกคามทางไซเบอร์ได้มากกว่า

Cyber Drill คือบริการที่ช่วยฝึกและทดสอบทักษะการตอบสนองต่อภัยคุกคามไซเบอร์เพื่อเสริมสร้างความปลอดภัย ให้กับบุคลากรในองค์กรของคุณเพื่อเป็นการป้องกันและลดความเสี่ยงที่อาจเกิดจากตัวบุคคล

เพื่อทดสอบและฝึกฝนบุคลากร เพื่อความปลอดภัยไซเบอร์ ในการตอบสนองต่อสถานการณ์ภัยคุกคามต่างๆ ในสภาวะที่คล้ายคลึงกับความเป็นจริง

คำถามยอดฮิตที่เกี่ยวกับ Red Team

SOSECURE ดำเนินการในรูปของแบบ Hybrid approach คือ จะใช้ความสามารถของที่ปรึกษาที่ผ่านการรับรองโดย Certificate ที่เป็นที่ยอมรับตามมาตราฐานสากลทั่วโลกเป็นหลัก และเครื่องมือที่ทางบริษัทฯ ใช้ในการทดสอบเจาะระบบเพื่อค้นหาช่องโหว่จะประกอบด้วยกัน 2 ประเภท คือ Commercial Tools และ Open Source Tools

เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดและสามารถส่งต่อผลลัพธ์ในการทดสอบเจาะระบบให้กับคุณลูกค้า ได้อย่างดีที่สุดในระยะเวลาอัน จำกัด นอกเหนือจากที่กล่าวมาข้างต้นนั้น ทางบริษัทฯ ยังเล็งเห็นถึงความปลอดภัยของระบบเป็นเป้าหมายสูงสุด เพราะฉะนั้นถ้าหากทางบริษัทฯ ดำเนินการทดสอบเจาะระบบครั้งที่ 2 (Revisit test) และพบช่องโหว่ที่มีระดับความเสี่ยงสูงกว่า (Medium) ขึ้นไป ทางบริษัทยินดีที่จะทำการตรวจสอบช่องโหว่และให้คำปรึกษากับทางคุณลูกค้าเพิ่มเติมอีก 1 ครั้ง เพื่อให้ช่องโหว่เหล่านั้นหายไปจากระบบเป้าหมาย และทำให้ระบบเป้าหมายมีความปลอดภัยสูงสุด จึงเป็นสาเหตุและความเป็นมาว่าทำไม “ราคาของทางบริษัทฯ เราจึงแตกต่างจากเจ้าอื่น”

Pentest Model ที่นิยมได้แก่ Black Box, White Box, และ Grey Box. Black Box ให้มุมมองของผู้โจมตีภายนอก, White Box คือการทดสอบด้วยข้อมูลภายในระบบที่มีข้อมูลของระบบครบถ้วน Grey Box เป็นการผสมผสานที่มีข้อมูลของระบบเพียงบางส่วน. ติดต่อ SOSECURE เพื่อรับคำแนะนำเฉพาะองค์กรของคุณ

Pentest หรือ Penetration Testing คือการทดสอบการเจาะระบบเพื่อค้นหาช่องโหว่และพยายามเข้าถึงข้อมูล, ส่วน VA (Vulnerability Assessment) เป็นการค้นหาช่องโหว่ โดยไม่ทดสอบการเจาะเข้าไป. Pentest ให้มุมมองเชิงรุก, ส่วน VA มุ่งหาความปลอดภัยในระบบ.

Pentest คือการทดสอบเจาะระบบเพื่อค้นหาช่องโหว่ และทดลองเข้าถึงข้อมูลด้วย Hacking Mindset ที่มีเป้าหมายเพื่อประเมินความปลอดภัยที่มีอยู่และปิดช่องโหว่ที่พบเจอทำให้ระบบมีความปลอดภัยมากขึ้น

Vulnerability Assessment (VA) เป็นกระบวนการที่มุ่งเน้นที่การค้นหา และประเมินช่องโหว่ที่อาจจะมีในระบบ โดยทั่วไป VA ไม่ได้ทำการเจาะระบบเพื่อค้นหาช่องโหว่ใหม่ๆ เพิ่มเติม แต่จะเป็นการสำรวจและรายงานช่องโหว่พร้อมกับความเสี่ยงที่เกี่ยวข้อง

Black-box คือการทดสอบโดยไม่รู้ลักษณะภายในของระบบ โดยมีมุมมองแบบ Blackhat Hacker, ส่วน Grey-box เป็นการผสมระหว่าง Black-box และ White-box โดยจะมีการข้อมูลบางส่วนของระบบในการทดสอบช่วยให้ค้นหาช่องโหว่ได้ละเอียดยิ่งขึ้น

VA ช่วยตรวจจับช่องโหว่ที่มีอยู่แล้ว ในขณะที่ Pentest คือสิ่งที่จะช่วยทดสอบว่าช่องโหว่เหล่านั้นสามารถถูกโจมตีได้หรือไม่ ซึ่งการทำทั้งสองเป็นการเพิ่มความปลอดภัยของระบบอย่างครบถ้วนให้มากที่สุด