SOC CONSULT SECURITY OPERATION CENTER | SOSECURE MORE THAN SECURE

SOC Service บริการเสริมเกราะป้องกันทางไซเบอร์แบบรอบด้าน จาก SOSECURE 

SOC Service หรือ Security Operation Center คือบริการเสริมหนึ่งในบริการป้องกันภัยคุกคามทางไซเบอร์ Cybersecurity ซึ่งเป็นการพัฒนาศูนย์เฝ้าระวังทางไซเบอร์จาก SOSECURE โดยศูนย์เฝ้าระวังทางไซเบอร์ Security Operation Center: SOC คือศูนย์กลางของระบบที่ทำหน้าที่คล้ายสำนักงานใหญ่ด้านความปลอดภัยในเครือข่ายที่อยู่ภายใต้การดูแลของทีมผู้เชี่ยวชาญที่มีประสบการณ์ในการวางระบบ SOC Service และดูแลด้าน Cybersecurity เพื่อติดตาม ตรวจจับ ตอบสนอง และบรรเทาภัยคุกคามจากเหตุการณ์ด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์แบบเรียลไทม์

ทาง SOSECURE เข้าใจดีว่าการปกป้องสินทรัพย์ดิจิทัลของแต่ละองค์กรนั้นมีความสำคัญสูงมาก ด้วยข้อมูลต่าง ๆ ที่มีความสำคัญเหล่านั้น นั่นเป็นเหตุผลที่เราอยากแนะนำให้ทุกท่านรู้จักกับบริการเสริมความปลอดภัยและป้องกันภัยคุกคามทางไซเบอร์ที่มีความครอบคลุม อย่าง SOC Service และ CSOC Service เพื่อเสริมความแข็งแกร่งให้กับสถานะความปลอดภัยทางไซเบอร์ของทุก ๆ องค์กรในปัจจุบัน

 

…เพราะความปลอดภัยของคุณ คือสิ่งที่สำคัญสำหรับเรา…

“เสริมเกราะป้องกันภัยไซเบอร์ให้องค์กรด้วย 

SOC Service จาก SOSECURE”

 

 

ทำไมต้องเลือกบริการ SOC Service ที่ SOSECURE? 

บริการ SOC Service และ CSOC Service ของ SOSECURE ได้รับการออกแบบมาเพื่อตอบสนองความต้องการเฉพาะของแต่ละองค์กร ซึ่งจะมีการนำเสนอ Solutions ที่ครอบคลุม เพื่อตอบสนองความต้องการของแต่ละองค์กรให้สามารถมั่นใจได้ว่าทุกแง่มุมของกลยุทธ์ความปลอดภัยทางไซเบอร์จะสอดคล้องกับเป้าหมายและลำดับความสำคัญขององค์กรนั้น ๆ 

บริการ SOC Service กำหนดเองได้

SOSECURE ให้คำแนะนำและให้ความช่วยเหลือจากผู้เชี่ยวชาญด้าน Service SOC โดยเฉพาะ เพื่อเลือกบริการที่ตอบโจทย์กับแต่ละองค์กร

บริการจัดการภัยคุกคามอย่างทันท่วงที

ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์ที่มีประสบการณ์ของ SOSECURE ทุ่มเทให้กับการระบุและจัดการกับภัยคุกคามก่อนที่จะเป็นอันตรายต่อองค์กร เพื่อให้มั่นใจว่าสภาพแวดล้อมต่าง ๆ ภายในเครือข่ายยังคงปลอดภัยอยู่ ในรูปแบบ 24 ชั่วโมง ตลอด 7 วัน

บริการการหลักสูตรพัฒนาบุคลากร

ทาง SOSECURE มาพร้อมหลักสูตรการเรียนรู้ที่ช่วยเสริมศักยภาพสำหรับองค์กรที่ต้องการจัดตั้ง Security Operation Center ของตนเอง โดยจะให้การฝึกอบรมและคำแนะนำเกี่ยวกับการใช้ SOC Service อย่างละเอียดเพื่อเพิ่มขีดความสามารถของทีมองค์กร

บริการบำรุงรักษาอุปกรณ์อย่างมีประสิทธิภาพ

SOSECURE นำเสนอบริการที่รับรองได้ว่าอุปกรณ์รักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์ขององค์กรจะทำงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ 

นี่เป็นเหตุผลหลัก ๆ ที่เราได้หยิบยกขึ้นมาให้ทุกท่านได้เห็นถึงการเลือกใช้บริการ SOC Service ที่ SOSECURE ซึ่งหากท่านสนใจบริการไหน หรือสนใจ Cybersecurity คอร์สเรียนไหน ก็สามารถสอบถามถึงรายละเอียดเพิ่มเติมผ่านเว็บไซต์ของ SOSECURE ได้เลย

 

SOC Service และ CSOC Service มีความแตกต่างกันอย่างไร

สำหรับใครที่มีข้อสงสัยว่า SOC Service และ CSOC Service ทั้ง 2 สิ่งนี้คืออะไร SOSECURE ต้องขอบอกเลยว่าโดยพื้นฐานแล้ว SOC และ CSOC คือบริการที่มีความหมายเหมือนกัน แต่ก็มีความแตกต่างกันเล็กน้อย ดังนี้

  • SOC Service (Security Operations Center Service)

เป็นบริการที่มุ่งเน้นการตรวจสอบมาตรการรักษาความปลอดภัยโดยรวมขององค์กร ซึ่งรวมถึงความปลอดภัยทางกายภาพ ความปลอดภัยของข้อมูล และความปลอดภัยทางไซเบอร์ โดยทั่วไปแล้วจะเกี่ยวข้องกับด้านความปลอดภัยในวงกว้าง รวมถึงความปลอดภัยทางกายภาพ (เช่น การควบคุมการเข้าถึงและการเฝ้าระวัง) และความปลอดภัยของข้อมูล (เช่น การปกป้องข้อมูลและการปฏิบัติตามข้อกำหนด) ซึ่ง SOC Service ครอบคลุมบริการด้านความปลอดภัยที่หลากหลาย และไม่จำกัดแค่เรื่องของความปลอดภัยทางไซเบอร์เพียงอย่างเดียว

  • CSOC Service (Cybersecurity Operations Center Service)

บริการของ CSOC มุ่งเน้นไปที่บริการที่เกี่ยวข้องกับความปลอดภัยทางไซเบอร์โดยเฉพาะ โดยบริการจะเกี่ยวการตรวจจับ วิเคราะห์ ตอบสนองต่อภัยคุกคาม และเหตุการณ์ด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์เป็นหลัก ซึ่งยังรวมไปถึงการโจมตีทางไซเบอร์ มัลแวร์ การละเมิดข้อมูล และปัญหาด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์อื่น ๆ

หากพูดให้เข้าใจง่าย ๆ ก็คือ SOC Service นั้นจะเน้นบริการด้านความปลอดภัยที่มีความครอบคลุมกว่า ในขณะที่ CSOC คือบริการที่มุ่งเน้นแค่เรื่องความปลอดภัยทางไซเบอร์ ซึ่งบริการของ CSOC ก็จะรวมอยู่ใน SOC Service นั่นเอง 


รูปแบบการให้บริการ

 

เจาะลึก 3 ส่วนประกอบสำคัญของบริการ SOC Service จาก SOSECURE

 

ในส่วนของ SOC Service หนึ่งในบริการป้องกันภัยคุกคามทางไซเบอร์ที่เป็นการพัฒนาศูนย์เฝ้าระวังทางไซเบอร์ให้สามารถตรวจจับภัยคุกคามได้อย่างรวดเร็วจาก SOSECURE นั้น จะมีส่วนประกอบที่สำคัญถึง 3 ส่วนที่ช่วยเสริมความแข็งแกร่งให้กับองค์กร นั่นก็คือขั้นตอนตั้งแต่การทำ GAP Analysis (Phase 1) เพื่อให้รู้ว่องค์กรจะต้องทำอะไรเพิ่มเติมในการเสริมความแข็งแกร่งให้องค์กรจากสิ่งที่มีอยู่ หลังจากนั้นก็จะมีการทำ Design for Closing GAP (Phase 2) เพื่อออกแบบรูปแบบของสิ่งที่องค์กรต้องทำเพิ่มเติม สุดท้ายก็จะมีการ Inplementation (Phase 3) เพื่อให้การจัดตั้งศูนย์เฝ้าระวังทางไซเบอร์ทำงานได้อย่างมีประสิทธิ์ภาพสูงสุดในการตรวจจับการโจมตีทางไซเบอร์ โดยจะครอบคลุมทั้ง 3 ส่วนที่ทำงานร่วมกัน อย่าง People, Process และ Technology ซึ่งทั้ง 3 ส่วนนี้จะมีรายละเอียด ดังนี้


โดยทางบริษัท SOSECURE จะมีรายละเอียดการให้บริการทั้งในหัวข้อ People, Process, Technology ดังต่อไปนี้

 

People

“People” ของ Security Operation Center คือ ส่วนที่มุ่งเน้นไปที่การสร้างทีมงานที่มีทักษะให้สามารถจัดการการดำเนินงานด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์ภายในองค์กรอย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งรายละเอียดที่ครอบคลุมด้าน “People” มีดังนี้

 


มีจุดมุ่งหมายเพื่อให้บุคลากรในระดับต่าง ๆ มีความรู้และทักษะที่จำเป็นในการติดตาม วิเคราะห์ และตอบสนองต่อภัยคุกคามด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งการฝึกอบรม SOC Service นี้จะแบ่งตามระดับ ตั้งแต่ Tier 1 - Tier 3  

 
    • ระดับ 1 (Tier 1)
      การฝึกอบรม Security Operation Center สำหรับบุคลากรระดับ 1 หรือระดับเริ่มต้นของทีม SOC เป็นการฝึกอบรมเกี่ยวกับการจัดเตรียมความรู้พื้นฐานและทักษะที่จำเป็นในการจัดการงานรักษาความปลอดภัยขั้นพื้นฐาน
 
    • ระดับ 2 (Tier 2)
      การฝึกอบรม Security Operation Center ระดับ 2 ออกแบบมาสำหรับบุคลากรที่มีทักษะระดับกลาง เพื่อให้สามารถได้รับการฝึกอบรมกับเหตุการณ์ด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์ที่มีความซับซ้อนมากขึ้น มีตั้งแต่การตรวจสอบภัยคุกคามทางไซเบอร์ในเชิงลึกไปจนถึงการดำเนินการวิเคราะห์ภัยคุกคามขั้นสูง
 
    • ระดับ 3 (Tier 3)
      การฝึกอบรม Security Operation Center ระดับ 3 เป็นหลักสูตรที่มีไว้สำหรับบุคลากรที่มีประสบการณ์และมีทักษะมากที่สุดของทีม SOC Service โดยทั่วไปแล้วบุคคลเหล่านี้มีหน้าที่รับผิดชอบในการจัดการเหตุการณ์ด้านความปลอดภัยที่สำคัญและซับซ้อนที่สุด ทั้งการตามหาช่องโหว่จากภัยคุกคามแบบละเอียด รวมถึงการวิเคราะห์ภัยคุกคามเพื่อจัดหาแนวทางการแก้ปัญหาในขั้นสูง

SOSECURE ได้มีหลักสูตรการฝึกอบรมสำหรับ SOC Manager ที่มีบทบาทสำคัญในการดูแลการปฏิบัติงานในแต่ละวันของ SOC ซึ่งการฝึกอบรมนี้ช่วยให้พัฒนาทักษะความเป็นผู้นำและการจัดการที่เฉพาะเจาะจงสำหรับ SOC Service ได้อย่างมีประสิทธิภาพและสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ด้านความปลอดภัยของแต่ละองค์กร โดยการฝึกอบรม SOC Manager นี้จะครอบคลุมการพัฒนาต่อยอดในหลากหลายทักษะที่มีความจำเป็น ไม่ว่าจะเป็น

 
    • ทักษะการพัฒนาความเป็นผู้นำ
      ทำให้สามารถชี้แนะทีม SOC ในระหว่างที่เจอกับเหตุการณ์ด้านความปลอดภัยและรักษาขวัญกำลังใจของทีมได้เป็นอย่างดี
 
    • ทักษะการวางแผนเชิงกลยุทธ์
      ทำให้สามารถสร้างแผนการรักษาความปลอดภัยระยะยาว จัดสรรทรัพยากร และปรับตัวให้เข้ากับภาพรวมภัยคุกคามที่เปลี่ยนแปลงไปได้
 
    • ทักษะการจัดการเหตุการณ์
      ทำให้สามารถทำความเข้าใจความรุนแรงของเหตุการณ์ จัดลำดับความสำคัญในการเจอกับเหตุการณ์ และสามารถแก้ไขกับเหตุการณ์ที่เกี่ยวข้องกับภัยคุกคามได้อย่างทันท่วงที
 
    • ทักษะการจัดการทรัพยากร
      ทำให้สามารถเรียนรู้วิธีจัดการทรัพยากรตามต้องการได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งรวมถึงการจัดการบุคลากร งบประมาณ และโครงสร้างพื้นฐานด้านเทคโนโลยี การจัดการทรัพยากรที่มีประสิทธิภาพนี้ จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพความสามารถของทีม SOC Service ได้มากขึ้น
 
    • ทักษะการสื่อสารและการทำงานร่วมกัน
      หลักสูตรการฝึกอบรมในส่วนนี้ครอบคลุมกลยุทธ์การสื่อสารเพื่อถ่ายทอดข้อมูลภัยคุกคาม สถานะเหตุการณ์ และคำแนะนำสู่ทีม SOC Service ได้อย่างชัดเจน
 
    • ทักษะการจัดการเครื่องมือรักษาความปลอดภัย
      ได้รับความเข้าใจเกี่ยวกับเครื่องมือและเทคโนโลยีที่ใช้ใน SOC ทั้งในเรื่องของความสามารถและข้อจำกัดของเครื่องมือรักษาความปลอดภัยเพื่อให้สามารถทำการตัดสินใจโดยใช้ข้อมูลประกอบได้อย่างถูกต้อง
 
    • ทักษะการรับมือและจัดการกับภาวะวิกฤติ
      SOC Manager จะได้รับการฝึกอบรมให้รับมือกับสถานการณ์ที่มีความเครียดสูงและการจัดการวิกฤตอย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งรวมถึงการพัฒนาแผนการที่ตอบสนองต่อเหตุการณ์ การดำเนินการตรวจสอบหลังเหตุการณ์ และการเรียนรู้จากเหตุการณ์ในอดีตเพื่อปรับปรุงมาตรการรักษาความปลอดภัยในอนาคต

การฝึกออกแบบโครงสร้าง SOC ที่มีประสิทธิภาพเป็นขั้นตอนสำคัญในการสร้างการป้องกันที่แข็งแกร่งต่อภัยคุกคามทางไซเบอร์ ด้วยหลักสูตรการฝึกอบรม Design SOC Structure จาก SOSECURE นี้ แน่นอนว่าผู้ที่เข้าร่วมจะได้รับประโยชน์ในเรื่องของการในการสร้างระบบ SOC ที่มีโครงสร้างที่ดีสอดคล้องกับข้อกำหนดเฉพาะและเป้าหมายด้านความปลอดภัยของแต่ละองค์กร ซึ่งองค์ประกอบสำคัญที่เกี่ยวข้องกับการออกแบบโครงสร้าง Service SOC ก็จะมีดังนี้

 
    • ระบุและกำหนดบทบาท รวมถึงความรับผิดชอบเฉพาะของสมาชิกในทีม เพื่อให้สามารถกระจายหน้าที่ต่าง ๆ ได้อย่างเหมาะสม 
 
    • กำหนดลำดับชั้นการรายงานที่ชัดเจนภายใน SOC เพื่อให้มั่นใจว่าข้อมูลที่ได้รับมานั้นเป็นไปอย่างถูกต้องตามระบบ 
 
    • จัดทีม SOC อย่างเหมาะสม เพื่อให้สามารถทำงานได้อย่างราบรื่น โดยอาจจัดโครงสร้างทีมตามกะ (เช่น กลางวัน กลางคืน) หรือปัจจัยอื่น ๆ ตามความต้องการของแต่ละองค์กร
 
    • ระบุด้านที่จำเป็นต้องมีความเชี่ยวชาญพิเศษภายใน SOC Service ของแต่ละองค์กร เพื่อให้สามารถตอบสนองต่อเหตุการณ์ที่นอกเหนือจากเหตุการณ์ทั่วไปได้
   
    • จัดลำดับความสำคัญของเหตุการณ์ด้านความปลอดภัยตามความรุนแรง เพื่อช่วยในการกำหนดขั้นตอนการตอบสนองและการยกระดับที่เหมาะสมสำหรับเหตุการณ์ประเภทต่าง ๆ
 
    • วางแผนและสร้างตารางเวลาสำหรับบุคลากร SOC เพื่อให้ครอบคลุมทุกวันตลอด 24 ชั่วโมง ซึ่งอาจเกี่ยวข้องกับการกำหนดจำนวนพนักงานที่จำเป็นสำหรับแต่ละกะและการจัดการการส่งมอบกะอย่างมีประสิทธิภาพ
 
    • ตรวจสอบให้แน่ใจว่าโครงสร้าง SOC ได้รับการปรับปรุงอย่างสม่ำเสมอ ซึ่งรวมถึงระบบ SIEM (ระบบที่ทำหน้าที่ในการรวบรวมข้อมูลด้านความปลอดภัยในรูปแบบต่าง ๆ) ฟีดข่าวกรองภัยคุกคาม และแพลตฟอร์มตอบสนองต่อเหตุการณ์
   
    • ฝึกอบรมและการพัฒนาทักษะอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้แน่ใจว่าสมาชิกในทีม SOC มีความรู้และเทคนิคที่ได้รับการเรียนรู้ที่ได้รับการอัปเดตอยู่เสมอ
   
    • พัฒนาคู่มือหรือเอกสารประกอบเกี่ยวกับการตอบสนองต่อเหตุการณ์เพื่อเป็นแนวทางแก่บุคลากร SOC ให้สามารถเรียนรู้เพื่อนำไปใช้ตอบสนองต่อเหตุการณ์ที่มีความเฉพาะได้


โดยสรุปแล้ว องค์ประกอบ "People" ของบริการ SOC Service จาก SOSECURE ซึ่งเป็น Cybersecurity คอร์ส ที่มีไว้เพื่อการพัฒนาบุคลากรที่ต้องการเพิ่มทักษะในด้านของ SOC หรือ Security Operation Center ซึ่งรวมถึงการฝึกอบรมบุคคลในระดับเริ่มต้น การฝึกอบรม Training SOC Manager และการออกแบบ Design SOC Structure เพื่อให้แน่ใจว่าสามารถตรวจสอบ วิเคราะห์ และตอบสนองต่อภัยคุกคามความปลอดภัยทางไซเบอร์ในแต่ละองค์กรได้อย่างมีประสิทธิภาพ ด้วยการลงทุนในการพัฒนาบุคลากร แน่นอนว่าองค์กรต่าง ๆ สามารถป้องกันภัยคุกคามทางไซเบอร์ได้ดีขึ้น และยังสามารถรักษามาตรการความปลอดภัยที่แข็งแกร่งให้กับองค์กรได้เป็นอย่างดี 


Process

“Process” ของ Security Operation Center คือ ส่วนที่มุ่งเน้นไปที่กระบวนการและขั้นตอนต่าง ๆ เพื่อให้มั่นใจถึงการดำเนินงานด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์ที่มีประสิทธิภาพ ซึ่งรายละเอียดเกี่ยวกับแต่ละกระบวนการและขั้นตอนต่าง ๆ ก็จะมีดังนี้

 


การพัฒนากระบวนการ SOC เกี่ยวข้องกับการกำหนดและปรับปรุงขั้นตอนการปฏิบัติงานและขั้นตอนการทำงานตามมาตรฐานที่ควบคุมภายใน SOC Service ซึ่งรวมถึงการกำหนดวิธีการตรวจสอบ วิเคราะห์ และตอบสนองเหตุการณ์ด้านความปลอดภัยทั้งหมด เช่น 

 
    • การบันทึกและการรวบรวมเหตุการณ์ โดยกำหนดวิธีการรวบรวมเหตุการณ์และบันทึกความปลอดภัยจากแหล่งต่าง ๆ ทั่วทั้งเครือข่ายและระบบภายในของแต่ละองค์กร
 
    • การจัดหมวดหมู่การแจ้งเตือนตั้งแต่เริ่มต้นไปจนถึงระดับรุนแรง เป็นการกำหนดเกณฑ์สำหรับการจัดลำดับความสำคัญและจัดหมวดหมู่การแจ้งเตือนด้านความปลอดภัยตามความรุนแรงและความเกี่ยวข้อง
 
    • การตรวจจับภัยคุกคาม เป็นการสรุปวิธีการและเครื่องมือที่ใช้ในการตรวจจับภัยคุกคามและความผิดปกติด้านความปลอดภัยที่อาจเกิดขึ้น
 
    • การสืบสวนเหตุการณ์ เป็นการให้รายละเอียดขั้นตอนในการตรวจสอบเหตุการณ์ด้านความปลอดภัยเมื่อมีการระบุถึงเหตุการณ์ด้านความปลอดภัยนั้น ๆ แล้ว
 
    • การปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง เป็นการนำวัฒนธรรมของการปรับปรุงอย่างต่อเนื่องไปใช้เพื่อปรับให้เข้ากับภัยคุกคามที่กำลังพัฒนา

การพัฒนารายงาน SOC ที่อยู่ภายในบริการ SOC Service มุ่งเน้นไปที่รายงานที่ให้ข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับสถานะความปลอดภัยขององค์กรและข้อมูลเชิงลึกด้านความเสี่ยงขององค์กร ดังนี้

 
    • การออกแบบเทมเพลตสำหรับรายงานประเภทต่าง ๆ เช่น รายงานสถานะรายวัน รายงานเหตุการณ์ และรายงานการปฏิบัติตามข้อกำหนด
 
    • การรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลจากเครื่องมือและแหล่งที่มาด้านความปลอดภัยต่าง ๆ เพื่อสร้างข้อมูลเชิงลึกด้านความเสี่ยงที่องค์กรอาจพบเจอในอนาคต
 
    • การระบุแนวโน้มและรูปแบบด้านความปลอดภัยตามข้อมูลในอดีตเพื่อแก้ไขช่องโหว่และภัยคุกคามในเชิงรุก
 
    • การรายงานการปฏิบัติตามข้อกำหนด เพื่อตรวจสอบให้แน่ใจว่ารายงานสอดคล้องกับมาตรฐานอุตสาหกรรมและข้อกำหนดด้านกฎระเบียบของแต่ละองค์กร

กระบวนการตอบสนองต่อเหตุการณ์เป็นองค์ประกอบที่สำคัญของการรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์ รวมถึง SOC Service โดยจะมีความเกี่ยวข้องกับชุดการดำเนินการที่กำหนดไว้อย่างชัดเจนที่จะต้องดำเนินการเมื่อตรวจพบเหตุการณ์ด้านความปลอดภัย ซึ่งกระบวนการเหล่านั้นก็จะมีรายละเอียดต่าง ๆ ดังนี้ 

 
    • การจำแนกเหตุการณ์ตามประเภท ผลกระทบ และความรุนแรง
 
    • การดำเนินการเพื่อบรรเทาผลกระทบทันทีของเหตุการณ์และป้องกันความเสียหายเพิ่มเติม
      
    • การระบุและกำจัดสาเหตุที่แท้จริงของเหตุการณ์ออกจากเครือข่าย
 
    • การกู้คืนระบบและบริการที่ได้รับผลกระทบให้ทำงานอย่างปกติ
 
    • วิเคราะห์ว่าสิ่งใดบ้างที่สามารถปรับปรุงได้สำหรับเหตุการณ์ที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคต

การพัฒนาแผนตอบสนองต่อเหตุการณ์ภายในบริการ "Process" ของ SOC Service นี้ เป็นการสร้างแผนรับมือโดยละเอียดทีละขั้นตอนสำหรับการตอบสนองต่อเหตุการณ์ด้านความปลอดภัยบางประเภท ซึ่งรายละเอียดของการพัฒนาแผนรับมือก็จะมีดังนี้ 

 
    • การระบุและจัดหมวดหมู่เหตุการณ์ด้านความปลอดภัยที่อาจเกิดขึ้นตามลักษณะของเหตุการณ์ เช่น การติดมัลแวร์ การละเมิดข้อมูล หรือการโจมตี DDoS
 
    • การกำหนดบทบาทและความรับผิดชอบของสมาชิกทีม SOC ในแต่ละระยะของเพื่อการตอบสนองต่อเหตุการณ์ที่มีความแม่นยำมากขึ้น
 
    • การสร้างโปรโตคอลการสื่อสารทั้งภายในทีม SOC และผู้มีส่วนได้ส่วนเสียภายนอก เช่น ทีมบังคับใช้กฎหมาย หรือทีมตอบสนองต่อเหตุการณ์ เป็นต้น 
 
    • การตรวจสอบว่าแผนตอบสนองต่อเหตุการณ์สอดคล้องกับข้อกำหนดทางกฎหมายและข้อบังคับหรือไม่
 
    • การทดสอบและอัปเดตแผนการตอบสนองต่อเหตุการณ์อย่างสม่ำเสมอ และจัดการฝึกอบรมให้กับสมาชิกในทีม SOC

การฝึกตอบสนองต่อเหตุการณ์ที่เกี่ยวข้องกับการจำลองเหตุการณ์ด้านความปลอดภัยจากบุคคล หรือผู้ที่ไม่หวังดี โดยการฝึกจำลองเหตุการณ์การถูกโจมตีนี้มีจุดประสงค์ของเพื่อทดสอบประสิทธิภาพของกระบวนการ แผนการรับมือ และการตอบสนองต่อเหตุการณ์ของพนักงานภายในองค์กร ซึ่งจะมีรายละเอียดของการฝึกตอบสนองต่อเหตุการณ์โจมตี ดังนี้ 

 
    • การจำลองเหตุการณ์ที่สมจริง เช่น การละเมิดข้อมูลหรือการโจมตีด้วยแรนซัมแวร์ เพื่อประเมินความพร้อมของพนักงานภายในองค์กร
 
    • การทดสอบความมีส่วนร่วมของทีมในการฝึกซ้อมเพื่อประเมินการตอบสนอง การสื่อสาร และการทำงานร่วมกันเป็นทีม
 
    • การวิเคราะห์ผลลัพธ์ของการฝึกจำลองเหตุการณ์โจมตีเพื่อระบุจุดแข็งและจุดอ่อนในกระบวนการตอบสนองและทำการปรับปรุงในส่วนนั้น ๆ 
 
    • การตอบสนองต่อเหตุการณ์ด้านการโจมตีมอบโอกาสในการเรียนรู้สำหรับทีม SOC ขององค์กรและช่วยปรับปรุงความสามารถในการตอบสนองต่อเหตุการณ์ด้านความปลอดภัยได้มากขึ้น

SOSECURE ให้บริการที่ปรึกษาด้านการนำ SOC Service ไปใช้เพื่อช่วยองค์กรในการจัดตั้งและเพิ่มประสิทธิภาพของศูนย์เฝ้าระวังทางไซเบอร์  (SOC) ซึ่งก็จะมีความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ไม่ว่าจะเป็น

 
    • การออกแบบโครงสร้างพื้นฐานทางกายภาพที่จำเป็นสำหรับ SOC เพื่อให้มั่นใจถึงความสามารถในการปรับขนาดและประสิทธิภาพ
 
    • การเลือกเทคโนโลยีและเครื่องมือรักษาความปลอดภัยที่เหมาะสมซึ่งสอดคล้องกับความต้องการและงบประมาณเฉพาะขององค์กร
 
    • การผสมผสานเครื่องมือรักษาความปลอดภัย เช่น ระบบ SIEM (เครื่องมือการจัดการรักษาความปลอดภัยขององค์กร), IDS/IPS (ระบบตรวจจับการบุกรุก/ระบบป้องกันการบุกรุก), ไฟร์วอลล์ และ Endpoint Protection Solutions 
 
    • การพัฒนาขั้นตอนการทำงานและกระบวนการที่มีประสิทธิภาพภายใน SOC เพื่อปรับปรุงการตรวจจับ การวิเคราะห์ และการตอบสนองต่อเหตุการณ์
 
    • การฝึกอบรมพนักงาน SOC เพื่อให้มั่นใจว่าแต่ละคนมีความเชี่ยวชาญในการใช้เทคโนโลยีที่นำมาใช้
 

ด้วยการมุ่งเน้นไปที่ “Process” หรือกระบวนการเหล่านี้ในบริการ SOC Service ของ SOSECURE แน่นอนว่าจะช่วยให้องค์กรต่าง ๆ สร้างการดำเนินการรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์ที่แข็งแกร่ง ซึ่งสามารถตรวจจับ ตอบสนอง และบรรเทาภัยคุกคามด้านความปลอดภัยได้อย่างมีประสิทธิภาพ 


Technology 

“Technology” ของ Security Operation Center คือ ส่วนที่มุ่งเน้นไปที่การใช้งานและการหาโซลูชันเทคโนโลยีที่จำเป็นเพื่อตรวจจับ วิเคราะห์ และตอบสนองต่อภัยคุกคามด้านความปลอดภัย ซึ่งรายละเอียดที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีที่ว่าก็จะมีรายละเอียดต่าง ๆ ดังนี้



SOSECURE ให้บริการตรวจจับและตอบสนองต่อภัยคุกคามทางไซเบอร์แบบอัตโนมัติอย่างครอบคลุม เพื่อช่วยให้องค์กรต่างๆ ตรวจจับ ตอบสนอง และบรรเทาภัยคุกคามได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งจะประกอบไปด้วย

 
    • การรวบรวมข้อมูลจากแหล่งความปลอดภัยต่าง ๆ เพื่อให้สามารถตรวจจับและตอบสนองภัยคุกคามได้อย่างครอบคลุม
 
    • การใช้ประโยชน์จากการวิเคราะห์และระบบอัตโนมัติขั้นสูง เพื่อตรวจจับภัยคุกคามและดำเนินการตอบสนองแบบอัตโนมัติ
 
    • การอำนวยความสะดวกในการประสานงานและการตอบสนองต่อเหตุการณ์ด้านการโจมตี เพื่อให้ทีมรักษาความปลอดภัยสามารถทำงานร่วมกันและตอบสนองต่อภัยคุกคามได้แบบเรียลไทม์
 
    • ความสามารถในการปรับขนาดได้รับการออกแบบมาเพื่อให้องค์กรปรับขนาดตามความต้องการด้านความปลอดภัยที่เพิ่มขึ้นและภัยคุกคามที่เปลี่ยนแปลงตลอดเวลาได้

SOSECURE ให้บริการศูนย์ปฏิบัติการความปลอดภัยทางไซเบอร์ที่ช่วยให้องค์กรต่าง ๆ จัดการการดำเนินงานด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่ง Next Gen Csoc Software ของ CSOC คือหนึ่งในบริการของ SOC Service ที่ครอบคลุมในหลากหลายด้าน ซึ่งรายละเอียดของ CSOC Service ก็จะมีดังนี้

 
    • การรวบรวมข้อมูลภัยคุกคามภายนอกจากแหล่งต่าง ๆ ทั่วทุกมุมโลกเพื่อเพิ่มความสามารถในการตรวจจับภัยคุกคามขององค์กร
 
    • การบริหารและจัดการกับสิ่งผิดปกติที่เกิดขึ้นในส่วนของเทคโนโลยีสารสนเทศสำหรับการตรวจจับเหตุการณ์ การตอบสนอง และการจัดการอย่างมีประสิทธิภาพ
 
    • การตรวจจับภัยคุกคามในเชิงรุกเพื่อให้องค์กรสามารถค้นหาภัยคุกคามเชิงรุกและวิเคราะห์ขั้นสูงเพื่อเปิดเผยภัยคุกคามที่ซ่อนอยู่ได้
 
    • การรายงานและการวิเคราะห์ขั้นสูงเพื่อรับข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับภาพรวมด้านความปลอดภัยภายในองค์กร

SOSECURE ให้บริการด้าน Security Information and Event Management ที่เป็นระบบสำหรับรวบรวมข้อมูลด้าน Security ในรูปแบบต่าง ๆ เพื่อช่วยให้องค์กรสามารถรวบรวม เชื่อมโยง และวิเคราะห์ข้อมูลเหตุการณ์ด้านความปลอดภัยจากแหล่งต่าง ๆ ได้อย่างแม่นยำมากยิ่งขึ้น โดย Advance SIEM ในบริการ SOC Service จะประกอบไปด้วย

 
    • การรวบรวมบันทึกและข้อมูลเหตุการณ์ด้านความปลอดภัยจากอุปกรณ์เครือข่าย แอปพลิเคชัน และอุปกรณ์ปลายทาง
 
    • การตรวจจับภัยคุกคามแบบเรียลไทม์เพื่อให้สามารถระบุความผิดปกติและเหตุการณ์ด้านความปลอดภัยได้
 
    • การสร้างการแจ้งเตือนและรายงานโดยละเอียดเกี่ยวกับเหตุการณ์และแนวโน้มด้านความปลอดภัย

SOSECURE ให้บริการที่ปรึกษาแก่องค์กรต่าง ๆ พร้อมช่วยองค์กรในการพัฒนาระบบขององค์กร กรณีที่เกิดภัยคุกคามเฉพาะได้ ซึ่งการใช้งานที่ปรับแต่งนี้จะได้รับการออกแบบและนำไปใช้อย่างมีประสิทธิภาพ โดบริการ Use Case Development ที่อยู่ภายใต้ SOC Service ก็จะมีรายละเอียดต่าง ๆ ดังนี้ 

 
    • ทำงานร่วมกับองค์กรต่าง ๆ เพื่อระบุสถานการณ์ภัยคุกคามที่อาจเกิดขึ้นตามแนวโน้มของอุตสาหกรรมและเหตุการณ์ในอดีต
 
    • การออกแบบกรณีการใช้งานที่กำหนดเองซึ่งประกอบด้วยเกณฑ์ที่กำหนดไว้ล่วงหน้า การแจ้งเตือน และเกณฑ์เพื่อตรวจจับกิจกรรมที่น่าสงสัยหรือเป็นอันตราย
 
    • กรณีการใช้งานได้รับการปรับแต่งให้ตรงกับเครือข่ายและแอปพลิเคชันเฉพาะขององค์กรจะทำให้มั่นใจได้ว่ากฎการตรวจจับได้รับการปรับแต่งอย่างละเอียด

SOECURE ให้บริการติดตั้งและผสานรวมระบบข่าวกรองภัยคุกคาม เพื่อช่วยให้องค์กรต่าง ๆ รวมฟีดข่าวกรองภัยคุกคามภายนอกเข้ากับโครงสร้างพื้นฐานด้านความปลอดภัยได้ ซึ่งรายละเอียดของ Threat Intelligent Implement & Integration ก็จะประกอบไปด้วย

 
    • การผสานรวมกับฟีดข่าวกรองภัยคุกคามต่าง ๆ รวมถึงแหล่งข้อมูล Open Source เชิงพาณิชย์และเฉพาะอุตสาหกรรม
 
    • การใช้ประโยชน์จากข้อมูลข่าวกรองภัยคุกคามเพื่อเชื่อมโยงเหตุการณ์ด้านความปลอดภัยกับเหตุการณ์ภัยคุกคามที่รู้จักเพื่อปรับปรุงความสามารถของ SOC ในการตรวจจับภัยคุกคามขั้นสูง
 
    • การสร้างฟีดข่าวกรองภัยคุกคามแบบกำหนดเองตามความต้องการเฉพาะขององค์กรหรือภาพรวมภัยคุกคาม
 
    • การใช้ข้อมูลข่าวกรองภัยคุกคามเพื่อระบุภัยคุกคาม จุดอ่อน และรูปแบบการโจมตีที่อาจส่งผลกระทบต่อองค์กร
 

โดยกระบวนการที่เกี่ยวข้องกับ “Technology” จาก SOSECURE จะสามารถสร้างความมั่นใจและรับรองว่าองค์กรจะมีเครื่องมือ โครงสร้างพื้นฐาน และความเชี่ยวชาญที่จำเป็นในการติดตาม วิเคราะห์ รวมถึงตอบสนองต่อภัยคุกคามความปลอดภัยทางไซเบอร์แบบเรียลไทม์ ซึ่งส่วนนี้สามารถช่วยยกระดับมาตรการรักษาความปลอดภัยโดยรวมให้กับองค์กรได้เป็นอย่างดี

 

เรียกได้ว่า องค์ประกอบทั้ง 3 นี้ของ SOC Service หรือ Security Operation Center คือส่วนประกอบที่มีความสำคัญมาก ๆ เพราะไม่ว่าจะเป็น People, Process หรือ Technology ก็จะเป็นส่วนที่ทำงานร่วมกันสำหรับสร้างศูนย์เฝ้าระวังทางไซเบอร์ที่ครอบคลุมและมีประสิทธิภาพ โดยบริการ SOC Service จาก SOSECURE ยังมาพร้อมข้อดีที่ช่วยพัฒนาให้ทีม SOC สามารถตรวจจับ บรรเทา และตอบสนองต่อภัยคุกคามทางไซเบอร์ในเวลาที่เหมาะสมได้อย่างดีเยี่ยม 

 

“สัมผัสอนาคตของความปลอดภัยทางไซเบอร์ไปกับ SOC Service 

SOSECURE พันธมิตรด้านการจัดการภัยคุกคามทางไซเบอร์แห่งยุค”