วิธีป้องกัน Web Application Hacking

Web Application Hacking รู้จักก่อน ป้องกันได้ก่อน | SOSECURE

Web Application Hacking ความเสี่ยงหลีกเลี่ยงได้ แค่ป้องกันไว้ก่อน

Web Application Hacking ถือเป็นปัญหาที่เกิดขึ้นกับองค์กรต่าง ๆ อย่างต่อเนื่องในปัจจุบัน

และด้วยความที่เทคโนโลยีดิจิทัลได้กลายเป็นตัวขับเคลื่อนอุตสาหกรรมที่สำคัญในประเทศมากมาย รวมถึงองค์กรต่าง ๆ ก็ได้มีการใช้ Web Application หรือที่เรียกกันอีกอย่างหนึ่งว่า Web App กันมากขึ้น นั่นจึงส่งผลให้ Web Application คือสิ่งที่กลายเป็นช่องโหว่ที่ผู้ไม่หวังดีสามารถใช้เป็นช่องทางในการเข้าถึงข้อมูลที่สำคัญของแต่ละองค์กรและสร้างความเสียหายทางไซเบอร์ได้ง่าย

ซึ่งทาง SOSECURE (โซซีเคียว) ขอบอกเลยว่าองค์กรต่าง ๆ สามารถหลีกเลี่ยงความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นได้ด้วยการใช้มาตรการความปลอดภัย Web Application Security ที่มีประสิทธิภาพควบคู่กับการใช้บริการรับทำ Pentest เพื่อตรวจสอบและป้องกันช่องโหว่ทางความปลอดภัยที่เกิดขึ้นใน Web Application และใช้ในการพัฒนา พร้อมกับปรับปรุงความปลอดภัยเพื่อเสริมสร้างความแข็งแกร่งและป้องกันภัยคุกคามที่อาจเกิดขึ้นจาก Web Application Hacking ได้ในอนาคต

 

Web Application Hacking คืออะไร มาทำความรู้จักกันสักนิด

Web Application Hacking คืออะไร?  Web Application Hacking คือกระบวนการการโจมตีหรือการทดสอบความอ่อนแอของ Web Application เพื่อค้นหาช่องโหว่ทางความปลอดภัย โดยผู้ที่ทำการแฮ็กนั้นจะถูกเรียกว่า “แฮกเกอร์” ซึ่งก็จะมีจุดประสงค์ในการแฮ็กที่หลากหลาย เช่น การเข้าถึงข้อมูลที่ละเอียดอ่อนซึ่งทางบริษัทหรือองค์กรเก็บรักษา, การเจาะระบบ หรือการก่อความเสียหาย เป็นต้น

ในกระบวนการ Web Application Hacking ตัวแฮกเกอร์สามารถใช้เครื่องมือและเทคนิคต่าง ๆ เพื่อค้นหาช่องโหว่ใน Web Application แล้วทำการทดสอบระบบ ประเมินระบบ โจมตีทางด้านระบบเครือข่าย หรืออื่น ๆ ได้ ซึ่งในการแฮ็กจะมีตั้งแต่การที่เจ้าของระบบอนุญาตให้สามารถเข้าถึง ซึ่งนั่นก็คือการทำ Pentest หรือใช้บริการรับทำ Pentest ที่เป็นส่วนหนึ่งของ Web Application Security เพื่อทดสอบความปลอดภัยของ Web Application ค้นหาช่องโหว่ และทำการแก้ไขหากพบช่องโหว่ ในส่วนของการแฮ็กที่เจ้าของระบบไม่อนุญาตก็จะเท่ากับการจงใจหาช่องโหว่เพื่อโจมตีทางไซเบอร์ ซึ่งสิ่งนี้ถือว่าเป็นสิ่งที่ผิดกฎหมาย

พูดให้เข้าใจง่าย ๆ ก็คือ Web Application Hackingเป็นการโจมตี  Web Application เพื่อเข้าถึงข้อมูลหรือทำความเสียหายต่อองค์กร และ Web Application Security เป็นการป้องกัน Web Application จากการแฮกเกอร์ ซึ่ง Web Application หรือ Web App คือแอปพลิเคชันที่เราใช้ผ่านเว็บนั่นเอง

 

Web Application Hacking เกิดจากอะไร


Web Application Hacking หรือที่เรียกว่าการแฮ็ก Web Application คือสิ่งที่เกิดจากปัจจัยและช่องโหว่ต่าง ๆ ที่สามารถถูกโจมตีโดยบุคคลหรือผู้ที่ไม่หวังดี โดยสาเหตุที่ทำให้เกิด Web Application Hacking ก็จะมีดังนี้

  • ช่องโหว่ด้านความปลอดภัย


Web Application จำนวนมากมีข้อบกพร่องด้านความปลอดภัยหรือช่องโหว่ที่แฮกเกอร์สามารถโจมตีได้ ช่องโหว่เหล่านี้อาจเป็นผลมาจากข้อผิดพลาดในโค้ดของแอปพลิเคชัน การกำหนดค่าที่ไม่ถูกต้อง หรือการตั้งค่าความปลอดภัยที่อ่อนแอ ทำให้ระบบหรือข้อมูลมีความเสี่ยงต่อการโจมตีหรือการถูกแฮ็ก

  • ระบบมีการตรวจสอบข้อมูลที่ไม่เหมาะสม


เกิดขึ้นเมื่อระบบของ Web Application ไม่สามารถตรวจสอบหรือตรวจสอบข้อมูลที่ผู้ใช้ป้อนเข้ามาไม่ถูกต้องก่อนนำไปประมวลผล ซึ่งสิ่งนี้ถือเป็นช่องโหว่ทางความปลอดภัยที่ทำให้ผู้ไม่หวังดีสามารถป้อนข้อมูลที่อาจทำให้เกิดความเสี่ยงหรือการโจมตี เช่น การโจมตีที่ระบบฐานข้อมูลของ Web (SQL Injection), การโจมตีแบบ Cross-Site Scripting (XSS) และ การโจมตีแบบ Cross Site Request Forgery (CSRF) ได้

  • ซอฟต์แวร์ที่ล้าสมัย


การที่องค์กรใช้ซอฟต์แวร์, Web Server หรือ Framework รวมถึงระบบการจัดการเนื้อหาของเว็บไซต์ที่ล้าสมัย อาจทำให้แฮกเกอร์ หรือผู้ที่ไม่หวังดีพยายามค้นหาช่องโหว่จากในเวอร์ชันเก่าเพื่อเข้าถึงระบบหรือข้อมูลได้ เนื่องจากช่องโหว่ที่ยังไม่ได้รับการแพตช์หรืออัปเดตให้เป็นรุ่นใหม่ล่าสุดจะยังไม่ได้รับการแก้ไขหรือป้องกันนั่นเอง

  • การตรวจสอบสิทธิ์ที่อ่อนแอ


ข้อผิดพลาดทางความปลอดภัยในระบบที่เกิดขึ้นเมื่อระบบไม่สามารถตรวจสอบตัวตนของผู้ใช้อย่างเหมาะสมหรือไม่มีการกำหนดสิทธิ์ผู้ใช้ที่ถูกต้อง ทำให้ผู้ไม่หวังดีสามารถเข้าถึงข้อมูลหรือรายการที่ไม่เหมาะสมหรือมีสิทธิ์ในการทำงานที่ไม่ถูกต้องในระบบของ Web Application ได้

  • API ที่ไม่ปลอดภัย


ด้วยความที่ Web Application มักใช้ API เพื่อโต้ตอบกับบริการอื่น ๆ ดังนั้นหาก API เหล่านี้ไม่ได้รับการรักษาความปลอดภัยเพียงพอ อาจกลายเป็นจุดอ่อนที่ส่งผลให้เกิด Web Application Hacking

  • ช่องโหว่จาก Third-Party Components 


การใช้ Third-Party Components สามารถช่วยลดเวลาและค่าใช้จ่ายในการพัฒนาและปรับปรุงซอฟต์แวร์ขององค์กรได้ เนื่องจากองค์กรไม่จำเป็นต้องสร้างทุกอย่างเอง แต่ในขณะเดียวก็จำเป็นที่จะต้องระมัดระวังในการตรวจสอบและควบคุม Third-Party Components ที่ใช้ด้วย เนื่องจาก Third-Party Components อาจมีช่องโหว่ทางความปลอดภัยที่เปิดโอกาสให้ผู้ไม่หวังดีใช้ในการโจมตี

  • การทดสอบความปลอดภัยไม่เพียงพอ


ข้อผิดพลาดที่เกิดขึ้นเมื่อระบบหรือ Web Application ไม่ได้รับการทดสอบความปลอดภัยอย่างเพียงพอในระหว่างกระบวนการพัฒนา ซึ่งอาจทำให้ Web Application เสี่ยงต่อการเกิดช่องโหว่ที่อาจไม่มีใครสังเกตเห็นจนกว่าจะถูกโจมตีโดยผู้ไม่หวังดี

  • การโจมตีแบบ DDoS

แม้ว่าจะไม่ได้เป็นการแฮ็กโดยตรง แต่การโจมตีแบบ DDoS ก็สามารถขัดขวางการทำงานของ Web Application ได้ ซึ่งการโจมตีแบบ DDoS สามารถทำให้บริการออนไลน์ไม่สามารถให้บริการแก่ผู้ใช้ได้อย่างปกติและอาจก่อให้เกิดความเสียหายทางธุรกิจและสูญเสียทางการเงินได้ เนื่องจากการหยุดชะงักของระบบ Web Application

ดังนั้น เพื่อจัดการกับสาเหตุของ Web Application Hacking เหล่านี้ SOSECURE ขอบอกเลยว่าการปฏิบัติตามแนวทางปฏิบัติที่ดีที่สุดในการรักษาความปลอดภัยของ Web Application คือสิ่งที่องค์กรต่าง ๆ จะต้องให้ความสำคัญ ซึ่งแต่ละองค์กรที่ใช้งาน Web Application ควรมีการประเมินความปลอดภัยและทำ Pentest ทดสอบการเจาะระบบเป็นประจำ เพื่อหลีกเลี่ยงความเสี่ยงของการโจมตีทางไซเบอร์ที่อาจเกิดขึ้น

 


วิธีป้องกัน Web Application Hacking 

เพื่อปกป้อง Web Application จากภัยคุกคามที่อาจเกิดขึ้น ทาง SOSECURE ได้รวบรวมวิธีป้องกัน Web Application Hacking ที่ใช้มาตรการรักษาความปลอดภัย Web App คือ และแนวทางปฏิบัติที่ดีมาให้แล้วด้านล่างนี้ ซึ่งจะมีวิธีในการป้องกันการแฮ็ก Web Application วิธีไหนบ้าง? ตามไปดูกัน

✔ ปฏิบัติตามแนวทางการเขียนโค้ดที่ปลอดภัย โดยมี OWASP Secure Coding Practices เป็นมาตรฐานว่าการเขียนโค้ดให้ซอฟต์แวร์มีความปลอดภัย

✔ ตรวจสอบความปลอดภัยของซอฟต์แวร์เพื่อป้องกันการโจมตีและข้อผิดพลาดที่เกิดจากข้อมูลที่ไม่ถูกต้องหรือเสี่ยงต่อความปลอดภัยของระบบ

✔ ใช้กลไกการตรวจสอบสิทธิ์ที่เข้มงวดและบังคับใช้การอนุญาตที่เหมาะสมเพื่อให้แน่ใจว่าผู้ใช้สามารถเข้าถึงทรัพยากรที่มีสิทธิ์เท่านั้น

✔ บังคับใช้นโยบายรหัสผ่านที่สนับสนุนการใช้รหัสผ่านที่รัดกุม ไม่ซ้ำกัน และมีการอัปเดตเป็นประจำ

✔ ใช้การจัดการเซสชันที่ปลอดภัยเพื่อป้องกัน Session Fixation และ Session Hijacking ใน Web Application

✔ ใช้ HTTPS เพื่อเข้ารหัสข้อมูลระหว่างทาง ป้องกันการดักฟังและการโจมตีจากคนกลาง

✔ ตั้งค่า Security Headers ในการกำหนดค่าเว็บเซิร์ฟเวอร์เพื่อลดการโจมตีต่าง ๆ เช่น Clickjacking และ XSS

✔ อัปเดตซอฟต์แวร์ทั้งหมด รวมถึง Web Server, Framework และปลั๊กอินให้ทันสมัยอยู่เสมอโดยใช้แพตช์ด้านความปลอดภัยและการอัปเดตล่าสุดในทันที

✔ ปรับใช้ Firewalls และ Web Application Firewalls (WAF) เพื่อกรองและตรวจสอบการรับส่งข้อมูลขาเข้าและขาออกและเพื่อหารูปแบบของ Web Application Hacking ที่เป็นอันตราย

✔ จำกัดสิทธิ์การเข้าถึงของผู้ดูแลระบบและข้อมูลที่ละเอียดอ่อนเฉพาะบุคลากรที่ได้รับอนุญาตเท่านั้น

✔ ตั้งค่านโยบายความปลอดภัยของเนื้อหา Content Security Policy (CSP) เพื่อควบคุมแหล่งที่มาของเนื้อหาที่สามารถดำเนินการภายใน Web Application

✔ ประเมินความปลอดภัยของ Web Application เป็นประจำ รวมถึงการสแกนช่องโหว่และการทดสอบการเจาะระบบ เพื่อให้สามารถระบุและแก้ไขช่องโหว่ได้ทันเวลา

✔ ใช้ระบบการบันทึกและการตรวจสอบที่ครอบคลุมเพื่อตรวจจับและตอบสนองต่อกิจกรรมที่น่าสงสัยหรือกิจกรรมที่เป็นอันตรายแบบเรียลไทม์

✔ อัปเดต Third-Party Components และคำนึงถึงความปลอดภัยเมื่อเลือก Third-Party Components ที่จะรวมเข้ากับ Web Application ขององค์กร

✔ รักษาความปลอดภัย API โดยใช้การรับรองความถูกต้อง การอนุญาต และการจำกัดอัตราที่เหมาะสมเพื่อป้องกันการโจมตีที่เน้นไปที่จุดสิ้นสุด API (API Endpoint)

นอกจากวิธีป้องกัน Web Application Hacking ที่ใช้มาตรการรักษาความปลอดภัย Web Application Security เหล่านี้แล้ว การที่องค์กรเน้นให้มีการจัดอบรมเพิ่มความรู้แก่พนักงานภายในองค์กรเกี่ยวกับแนวปฏิบัติที่ดีที่สุดด้านความปลอดภัยจะช่วยให้พนักงานภายในองค์กรมีความรู้ความเข้าใจและสามารถรับมือกับ Web Application Hacking ได้มากยิ่งขึ้น

ดังนั้นหากองค์กรไหนกำลังมองหาคอร์ส Cybersecurity คอร์สฝึกอบรมที่เกี่ยวข้องกับการซ้อมรับมือกับ Web Application Hacking ร่วมกับบริการ Web Application Security อย่าง การทำ Web Application Hacking และการทำ  Penetration Testing เพื่อทดสอบความปลอดภัยของ Web Application บอกเลยว่าห้ามพลาด! บริการด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์ที่ครบ จบ จาก SOSECURE

 

Share